ชื่อเรื่อง | : | พัฒนาการของหลักกฎหมาย Volenti non fit injuria : ศึกษาการปรับใช้กับประเทศไทย |
นักวิจัย | : | สุพัชรินทร์ อัศวธิตานนท์ |
คำค้น | : | พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 , กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด , ละเมิด -- เยอรมัน , ละเมิด -- อังกฤษ , ละเมิด -- ไทย , ละเมิด (กฎหมายโรมัน) , ละเมิด (กฎหมายเยอรมัน) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15880 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายในการศึกษาความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของหลัก Volenti non fit injuria หรือในทางแพ่งคือหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด ว่าถือกำเนิดขึ้นและมีพัฒนาการเป็นมาอย่างไร จวบจนกระทั่งมีการรับเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้วได้ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำไปปรับใช้เพื่อยกเว้นความรับผิดทางละเมิด หลัก Volenti non fit injuria ได้รับการบัญญัติไว้ใน Lex Aquilia ซึ่งในชั้นแรกยังไม่ปรากฏเป็นลักษณะเช่นเดียวกับปัจจุบัน เป็นเพียงการอธิบายความในลักษณะที่ว่า ความยินยอมของผู้เสียหายเป็นผลให้การกระทำผิดของผู้กระทำไม่เป็นความผิด และได้รับการพัฒนารูปลักษณะวลีให้มีความกระชับขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีลักษณะดังเช่นปัจจุบันในครั้งแรกที่ The Year Book Case of 1305 (Roll Series) ซึ่งเป็นหนังสือรวมคดีของประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น หลัก Volenti non fit injuria ก็เริ่มเผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทย โดยผ่านทางการสอนของโรงเรียนกฎหมายในวิชากฎหมายประทุษร้ายส่วนแพ่งหรือวิชากฎหมายลักษณะผิดสิทธิ จวบจนกระทั่งปัจจุบัน แม้ว่าประเทศไทยจะได้นำหลัก Volenti non fit injuria เข้ามาปรับใช้กับคดีนานแล้ว แต่ยังคงมีปัญหาทางกฎหมายอยู่หลายประการ เช่น ปัญหาฐานะทางกฎหมายของหลัก Volenti non fit injuria ปัญหาขอบเขตการให้ความยินยอม ปัญหาการให้ความยินยอมกับการแสดงเจตนาทำนิติกรรม และปัญหาการให้ความยินยอมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เป็นต้น ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ อาจทำได้โดยปรับเปลี่ยนแนวทางการปรับใช้และการตีความหลัก Volenti non fit injuria หรือแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยนำเรื่องความยินยอม (Volenti non fit injuria) มาบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะละเมิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
สุพัชรินทร์ อัศวธิตานนท์ . (2551). พัฒนาการของหลักกฎหมาย Volenti non fit injuria : ศึกษาการปรับใช้กับประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัชรินทร์ อัศวธิตานนท์ . 2551. "พัฒนาการของหลักกฎหมาย Volenti non fit injuria : ศึกษาการปรับใช้กับประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัชรินทร์ อัศวธิตานนท์ . "พัฒนาการของหลักกฎหมาย Volenti non fit injuria : ศึกษาการปรับใช้กับประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. สุพัชรินทร์ อัศวธิตานนท์ . พัฒนาการของหลักกฎหมาย Volenti non fit injuria : ศึกษาการปรับใช้กับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|