ชื่อเรื่อง | : | ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ |
นักวิจัย | : | พูลสิน เฉลิมวัฒน์ |
คำค้น | : | ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ , ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต , การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ , ปรากฏการณ์วิทยา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รังสิมันต์ สุนทรไชยา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15761 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552 บรรยายความหมายและประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ แบบการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl ผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุจำนวน 10 รายได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและได้รับการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-dept interview) พร้อมกับนำข้อมูลการสัมภาษณ์จากเทปบันทึกเสียงมาถอดข้อมูลแบบคำต่อคำ (Verbatim) และวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบของ Colaizzi ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุให้ความหมายของการมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าไว้ว่า เป็นการทำความเข้าใจตนเองและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และเป็นวิธีการยอมรับความจริงของชีวิตแล้วตั้งหลักกลับมาสู้ใหม่ ส่วนประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) จิตใจอ่อนแอแต่อยู่อย่างมีหวัง กำลังใจ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความรู้สึกอ่อนแอของจิตใจ อยากหายกลับไปเป็นเหมือนเดิม และคิดอย่างมีความหวังและมีกำลังใจ 2) ครอบครัวมีความสำคัญในการมีชีวิตอยู่ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ คู่ชีวิตคือกำลังใจ ครอบครัวให้ความเอื้ออาทร และอยู่เพื่อคนที่รัก 3) เรื่องของกรรมใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง เพื่อเผชิญปัญหา ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ การป่วยเป็นเรื่องของกรรม การมีธรรมะเป็นที่พึ่ง และปล่อยวางเพื่อความสบายใจพร้อมเผชิญปัญหา 4) การดูแลเริ่มต้นที่ตนเองเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ ตระหนักในการดูแลตนเอง คิดในแง่ดี ปรับวิธีคิดและพฤติกรรม และกิจกรรมพาเพลินลืมอารมณ์เศร้า 5) มั่นใจในทีมสุขภาพ ได้รับพลังใจ มีส่วนร่วมในการรักษา ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ มั่น ใจในทีมสุขภาพ พลังใจจากหมอพยาบาล และร่วมวางแผนในการรักษา ผู้วิจัยสรุปข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำความเข้าใจ ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุอย่างครอบคลุม เพื่อนำไปวางแผนในการจัดการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ |
บรรณานุกรม | : |
พูลสิน เฉลิมวัฒน์ . (2552). ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พูลสิน เฉลิมวัฒน์ . 2552. "ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พูลสิน เฉลิมวัฒน์ . "ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. พูลสิน เฉลิมวัฒน์ . ประสบการณ์การมีชีวิตอยู่กับโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยสูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|