ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาในสัญญาซื้อขาย |
นักวิจัย | : | สี่เหมย โจว |
คำค้น | : | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา , กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน , เจตนา (กฎหมาย) , ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15570 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 การเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาคือ การได้มา การเปลี่ยนแปลง การระงับหรือการกลับคืนมา ซึ่งทรัพยสิทธิโดยนิติกรรม หลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาแตกต่างกัน จะทำให้จุดของการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิและจุดเชื่อมโยงระหว่างการแสดงเจตนา หนี้และทรัพยสิทธิแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้กฎหมายแพ่งทั้งระบบ เช่น เรื่องนิติกรรม เรื่องสัญญาซื้อขาย เรื่องหนี้ เรื่องทรัพย์สิน เป็นต้น มีลักษณะที่แตกต่างกัน และทำให้ระบบการคุ้มครองความมั่นคงในการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของทรัพย์มีลักษณะที่แตกต่างกันด้วย สำหรับจุดเชื่อมโยงระหว่างการแสดงเจตนา หนี้และทรัพยสิทธิมีสองจุด ได้แก่ “ผลแห่งหนี้” และ “การปฏิบัติการชำระหนี้” ถ้าหากหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิในประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศใดขาดความชัดเจนแน่นอน หรือขาดความเป็นเอกภาพในจุดเชื่อมโยงระหว่างการแสดงเจตนา หนี้และทรัพยสิทธิ จะก่อให้เกิดปัญหาของความเป็นระบบแห่งกฎหมายแพ่ง และการคุ้มครองความมั่นคงในการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของทรัพย์ในประเทศนั้น หลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาตามเจตนารมณ์ของการยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมีสองหลัก คือ หลักที่ผลของสัญญาซื้อขายก่อให้เกิดผลในทางหนี้และผลของการโอนกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 453 และมาตรา 458 ในลักษณะสัญญาซื้อขาย ซึ่งดูราวกับว่า ถือ “ผลแห่งหนี้” เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง การแสดงเจตนา หนี้และทรัพยสิทธิและหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิด้วยนิติกรรมทางหนี้ ประกอบกับการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง มาตรา 1301และมาตรา 1302 ในบรรพ 4 ลักษณะทรัพย์สิน ซึ่งได้ถือ “การปฏิบัติการชำระหนี้” เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างการแสดงเจตนา หนี้และทรัพยสิทธิ ดังนั้น หลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาของไทย ไม่เป็นเอกภาพในจุดเชื่อมโยงระหว่างการแสดงเจตนา หนี้และทรัพยสิทธิอีกทั้งหลักที่ผลของสัญญาซื้อขายก่อให้เกิดผลในทางหนี้ และผลของการโอนกรรมสิทธิ์ไม่เหมาะสมกับประเทศที่การเคลื่อนไหว ซึ่งทรัพยสิทธิต้องมีการส่งมอบหรือการจดทะเบียน จึงก่อให้เกิดปัญหาของความเป็นระบบแห่งกฎหมายแพ่งและการคุ้มครองความมั่นคง ในการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของทรัพย์ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนในการทำความเข้าใจบทบัญญัติต่างๆ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย และทำให้เกิดความผิดพลาดในการตีความและปรับใช้กฎหมาย ทั้งก่อให้เกิดการโต้แย้งกันในวงการวิชาการ โดยไม่สามารถลงรอยได้เมื่อผู้ศึกษาได้ศึกษาเปรียบเทียบระบบการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิ โดยการแสดงเจตนาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย เปรียบเทียบกับระบบกฎหมายของฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และจีนแล้ว จึงเห็นควรเสนอแนวทางที่อาศัยหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิด้วยผลแห่งหนี้ของฝรั่งเศส มาปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย. |
บรรณานุกรม | : |
สี่เหมย โจว . (2552). ปัญหาเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาในสัญญาซื้อขาย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สี่เหมย โจว . 2552. "ปัญหาเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาในสัญญาซื้อขาย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สี่เหมย โจว . "ปัญหาเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาในสัญญาซื้อขาย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. สี่เหมย โจว . ปัญหาเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนไหวซึ่งทรัพยสิทธิโดยการแสดงเจตนาในสัญญาซื้อขาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|