ชื่อเรื่อง | : | ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน : ศึกษาในกรณีผิดสัญญา |
นักวิจัย | : | ญาดา รัตนอารักขา |
คำค้น | : | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา , การผิดสัญญา , ค่าเสียหาย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15561 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 เนื่องจากมาตรา 222 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้อย่างกว้างๆ ว่าความเสียหายที่อาจได้รับการชดใช้จากการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้ได้แก่ความเสียหาย เช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้น แต่การไม่ชำระหนี้หรือความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่ลูกหนี้ คาดเห็นหรือควรคาดเห็นได้ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าหมายรวมถึงความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินด้วยหรือไม่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนพบว่า ศาลไทยได้มีการปรับใช้หลักเกณฑ์มาตรา 222 ในการกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินเช่นกันเพียงแต่ขอบเขตการปรับใช้หลักเกณฑ์ ค่อนข้างจำกัดมาก กล่าวคือ ศาลไทยกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้เฉพาะในกรณีที่มีความ เสียหายต่อร่างกายหรือกรณีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย แต่ในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายสำหรับ ความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินเช่นเดียวกับประเทศไทยคือ (1) ความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินจะต้องเป็นความเสียหายที่มีอยู่จริง และ (2) ความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินจะต้องเป็นความเสียหายที่ไม่ไกลกว่าเหตุทั้งสามประเทศดังกล่าว ได้ปรับใช้หลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินในขอบเขตที่กว้างมากกว่าศาลไทย โดยกำหนดค่าเสียหายให้แก่เจ้าหนี้แม้จะไม่มีความเสียหายต่อร่างกายใดๆ หรือผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายก็ตาม อาทิเช่น กรณีผิดสัญญาซื้อทัวร์ไปท่องเที่ยวโดยจำเลยไม่ได้ให้บริการตามที่ได้ตกลงไว้ ในสาระสำคัญของการบริการย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อจิตใจ ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินรูปแบบหนึ่งอย่างแน่นอน ซึ่งย่อมเป็นความเสียหายที่มีอยู่จริงและไม่ไกลกว่าเหตุเป็นต้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ควรให้มีการเพิ่มเติม มาตรา 222 วรรคสาม ว่า "ความเสียหายดังกล่าวในสองวรรคก่อนนั้นให้หมายความรวมถึงความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน ในกรณีที่มีความเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินได้แน่นอน หรือกรณีที่การไม่ชำระหนี้นั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินที่เป็นพิเศษขึ้น โดยจะพึงใช้เพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์แห่งการไม่ชำระหนี้และความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น” เพื่อให้ศาลไทยได้ปรับใช้หลักเกณฑ์เรื่องนี้ได้อย่างไม่ลักลั่นกัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ศาลว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ ภายใต้กฎหมายและเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้สิทธิของตนอย่างชัดเจน. |
บรรณานุกรม | : |
ญาดา รัตนอารักขา . (2552). ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน : ศึกษาในกรณีผิดสัญญา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ญาดา รัตนอารักขา . 2552. "ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน : ศึกษาในกรณีผิดสัญญา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ญาดา รัตนอารักขา . "ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน : ศึกษาในกรณีผิดสัญญา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ญาดา รัตนอารักขา . ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน : ศึกษาในกรณีผิดสัญญา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|