ชื่อเรื่อง | : | การประยุกต์การวิเคราะห์โครงสร้างค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนร่วมแบบกลุ่มพหุที่มีตัวแปรแฟนทอม ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันในอาชีพ |
นักวิจัย | : | จิราพร ผลประเสริฐ |
คำค้น | : | ความผูกพันต่อองค์การ , ครู -- ความพอใจในการทำงาน , ตัวแปรแฟนทอม , การวิเคราะห์ตัวแปรพหุ , ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นงลักษณ์ วิรัชชัย , สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743331077 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15520 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันในอาชีพตามโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายในแฝง และเพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มโรงเรียนต่างสังกัด 5 สังกัดและระหว่างกลุ่มครูและกลุ่มหัวหน้าหมวดในโรงเรียนแต่ละสังกัด โดยการประยุกต์การวิเคราะห์โครงสร้างค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนร่วมแบบกลุ่มพหุที่มีตัวแปรแฟนทอมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มครูผู้สอนและกลุ่มหัวหน้าหมวด จากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 1,066 โรงเรียน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง มี 5 ตัวแปร คือ ตัวแปรแฝงตามกรอบแนวคิดในการวิจัย 3 ตัวแปร และตัวแปรแฟนทอม 2 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 12 ตัวแปร ได้มาจากฐานข้อมูลในโครงการวิจัยเรื่อง "ประสิทธิภาพการใช้ครู : การวิเคราะห์เชิงปริมาณระดับมหภาค" วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปผลได้ดังนี้ 1. โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันในอาชีพตามโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายในแฝงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวของตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันในอาชีพทุกตัวแปรเป็นตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมีนัยสำคัญ ตัวแปรภายในแฝงทุกตัวมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีนัยสำคัญระดับสูง 2. โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันในอาชีพของกลุ่มโรงเรียน 5 สังกัด มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบของโมเดลและมีควาาแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบระหว่างกลุ่มโรงเรียน 5 สังกัด 3. โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันในอาชีพของกลุ่มครูและกลุ่มหัวหน้าหมวดในกลุ่มโรงเรียนแต่ละสังกัดมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลและค่าพารามิเตอร์ของน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรภายนอกสังเกตได้ และโมเดลมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์อื่นๆ ที่เหลือทุกค่าที่ทดสอบ. |
บรรณานุกรม | : |
จิราพร ผลประเสริฐ . (2542). การประยุกต์การวิเคราะห์โครงสร้างค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนร่วมแบบกลุ่มพหุที่มีตัวแปรแฟนทอม ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันในอาชีพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิราพร ผลประเสริฐ . 2542. "การประยุกต์การวิเคราะห์โครงสร้างค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนร่วมแบบกลุ่มพหุที่มีตัวแปรแฟนทอม ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันในอาชีพ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิราพร ผลประเสริฐ . "การประยุกต์การวิเคราะห์โครงสร้างค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนร่วมแบบกลุ่มพหุที่มีตัวแปรแฟนทอม ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันในอาชีพ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. จิราพร ผลประเสริฐ . การประยุกต์การวิเคราะห์โครงสร้างค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนร่วมแบบกลุ่มพหุที่มีตัวแปรแฟนทอม ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สถานภาพของโรงเรียน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันในอาชีพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|