ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรอง |
นักวิจัย | : | ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย เอี่ยมอ่อง , ขจร ตีรณธนากุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2550 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15412 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายยังคงสูงอยู่ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการสะสมของ ของเสียโมเลกุลใหญ่ในร่างกายที่ไม่สามารถขจัดได้ด้วยการฟอกเลือดแบบปกติ การฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิล เตรชั่นซึ่งมีการเติมสารน้ำทั้งก่อนหรือหลังตัวกรอง เป็นการฟอกเลือดวิธีใหม่ที่เชื่อว่าสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ แต่ถึงแม้ว่าการเติมสารน้ำหลังตัวกรองจะมีประสิทธิภาพในการขจัดของเสียที่ดีกว่าการเติมสารน้ำก่อนเข้าตัวกรอง เนื่องจากเลือดจะไม่ถูกเจือจางด้วยสารน้ำ แต่ภาวะที่มีความเข้มข้นของเลือดที่มากขึ้นในระหว่างการฟอกเลือดยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของการฟอกเลือดด้วยวิธีนี้ จึงมีการคิดค้นวิธีการฟอกเลือดวิธีใหม่ที่มีการเติมสารน้ำระหว่างตัวกรอง เพื่อลดข้อจำกัดของการเติมสารน้ำหลังตัวกรอง และได้ทำการศึกษานี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขจัดสารเบต้าเบต้าทูไมโครโกลบูลินของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรอง และหลังตัวกรอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 12 รายซึ่งได้รับการฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะได้รับการฟอกเลือดด้วยวิธีดังกล่าวทั้งสองวิธีโดยสุ่มเลือกว่าจะฟอกเลือดด้วยวิธีใดก่อนตามลำดับการสุ่ม การฟอกเลิอดทั้ง 2 วิธีจะใช้อัตราการไหลของเลือด 400-450 มิลลิลิตรต่อนาที และเติมสารน้ำในปริมาณที่มากที่สุดที่แต่ละวิธีจะเติมได้ โดยเติมสารน้ำ 300 มิลลิลิตรต่อนาทีระหว่างตัวกรอง และเติมสารน้ำ 120 มิลลิลิตรต่อนาทีหลังตัวกรอง ผลการศึกษาพบว่าการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำเติมสารน้ำหลังตัวกรอง มีค่าการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยรวมเท่ากับ 156.5+-19.7 มิลลิลิตรต่อนาทีซึ่งไม่ต่างจากการเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรอง 143.6+-17.4 มิลลิลิตรต่อนาที ส่วนการขจัดยูเรียของการเติมสารน้ำกึ่งกลางระหว่างตัวกรอง ไม่ต่างจากการเติมสารน้ำหลังตัวกรอง (427.2+-73.5 / 409.2 +-39.3มิลลิลิตรต่อนาที) ค่าการขจัดของครีอะตรีนินและฟอสเฟตไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม (319.5+-41.6 / 324.4+-36.8 ,384.5+-10.7 / 413.4+-10.5 ) แต่ที่สำคัญพบว่าการสูญเสียโปรตีนในระหว่างที่ฟอกเลือดของการเติมสารน้ำหลังตัวกรองสูงกว่าการเติมสารน้ำระหว่างตัวกรองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.7+-1.7 เทียบกับ 3.1+-1.4 กรัม, p =0.04) กล่าวโดยสรุปการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองมีอัตราการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินดีเทียบเท่ากับการเติมสารน้ำหลังตัวกรอง แต่มีการสูญเสียโปรตีนที่น้อยกว่า ดังนั้นการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองน่าจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด |
บรรณานุกรม | : |
ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์ . (2550). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรอง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์ . 2550. "การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรอง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์ . "การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรอง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. Print. ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์ . การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรอง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
|