ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์ |
นักวิจัย | : | จันทิมา เอียมานนท์ |
คำค้น | : | ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์ , ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา , โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย , ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15317 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 งานวิจัยนี้ศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวทางปฏิพันธวิเคราะห์ซึ่งเป็นการศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์ที่เชื่อมระหว่างมิติทางภาษาและมิติทางสังคมด้วยวิธีการทางชาติพันธุ์วรรณนา และ การวิเคราะห์ตัวบทเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างภาษา บุคคล และวิถีปฏิบัติทางสังคมในการ สื่อความหมายเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์หรือผู้มีเชื้อเอดส์ในวาทกรรม วัตถุประสงค์ของการศึกษาพื่อทำ ความเข้า ใจว่าผู้มีเชื้อเอดส์ถูกนำเสนออย่างไรในวาทกรรมสาธารณะและ นำเสนอตนเองอย่างไรใน วาทกรรมภายในชุมชน และเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมสาธารณะและวาทกรรมภายใน ชุมชน รวมทั้งภาษากับ อุดมการณ์ในการนำเสนอผู้มีเชื้อเอดส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยมาจากข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลเอกสารมาจากวาทกรรมสาธารณะที่สื่อโดยผู้มีเชื้อเอดส์ และสื่อโดยบุคคลอื่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2547 ส่วนข้อมูลภาคสนามเป็นข้อมูลบทสนทนาของผู้มีเชื้อเอดส์ภายในชุมชน ผู้มีเชื้อ เอดส์สองชุมชน ได้แก่ โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ วัดพระบาทน้ำพุ ที่จังหวัดลพบุรี และศูนย์สุขภาพชุมชน ดอนแก้ว ที่จังหวัด เชียงใหม่ จากการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้นำเสนอผู้มีเชื้อเอดส์ในวาทกรรมสาธารณะ และวาทกรรม ภายในชุมชนทั้งสองชุมชน พบว่า กลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสาธารณะมี 3 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีทางศัพท์ กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม และกลวิธีทางวาทศิลป์ที่ใช้สื่อความหมายด้านลบ และความหมาย ด้านบวกของผู้มีเชื้อเอดส์ ส่วนกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมภายในชุมชนพบ 2 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีทางศัพท์ และกลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนาทำให้เห็นว่า ผู้มีเชื้อเอดส์ สองชุมชน นำเสนอตนเองต่างกันตามวาทกรรมและวิถีปฏิบัติภายในชุมชนที่แตกต่างกัน ผู้มีเชื้อเอดส์ใน โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์สื่อความหมายผู้มีเชื้อเอดส์ด้านลบ ในขณะที่ผู้มีเชื้อเอดส์ใน ศูนย์สุขภาพ ชุมชนดอนแก้วสื่อความหมายผู้มีเชื้อเอดส์ด้านบวก การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรม สาธารณะ และวาทกรรมภายในชุมชนพบว่ามีความสัมพันธ์ที่เด่น 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์แบบเสริมกัน และ ความสัมพันธ์แบบแย้งกัน ความสัมพันธ์แบบเสริมกันใช้สื่อความหมายผู้มีเชื้อเอดส์ทั้งด้านลบและ ด้านบวก ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบแย้งกันใช้ในการตอบโต้กับความหมายด้านลบ วาทกรรมภายใน โครงการ ธรรมรักษ์นิเวศน์ส่วนใหญ่สัมพันธ์แบบเสริมกันกับวาทกรรมสาธารณะที่สื่อความหมาย ผู้มีเชื้อเอดส์ด้านลบ. |
บรรณานุกรม | : |
จันทิมา เอียมานนท์ . (2549). การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จันทิมา เอียมานนท์ . 2549. "การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จันทิมา เอียมานนท์ . "การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. จันทิมา เอียมานนท์ . การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|