ชื่อเรื่อง | : | การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาในภาษาโซ่ง (ไทดำ) ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี |
นักวิจัย | : | สุนทรัตร์ แสงงาม |
คำค้น | : | ภาษาโซ่ง -- ไทย -- เพชรบุรี , ภาษาถิ่น , ภาษาโซ่ง -- คำศัพท์ , ภาษาโซ่ง -- วรรณยุกต์ , ภาษาโซ่ง -- สัทศาสตร์ , ภาษาไทยถิ่นกลาง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กัลยา ติงศภัทิย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15290 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ในภาษาโซ่ง (ไทดำ) ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ตามตัวแปรอายุและทัศนคติต่อภาษาโซ่ง ผู้วิจัยแบ่งตัวแปรอายุออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุ 15-25 ปี, 35-45 ปี และ 55-65 ปีขึ้นไป และแบ่งตัวแปรทัศนคติต่อภาษา โดยใช้แบบสอบถามทัศนคติต่อภาษา ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีทัศนคติบวกต่อภาษาโซ่ง กลุ่มที่มีทัศนคติกลางต่อภาษาโซ่ง และกลุ่มที่มีทัศนคติลบต่อภาษาโซ่ง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลที่ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย ซึ่งประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน โดยกำหนดจำนวนผู้บอกภาษาในงานวิจัยนี้ทั้งหมด 60 คน จำแนกเป็น 20 คนต่อหนึ่งกลุ่มอายุ โดยให้มีทั้งเพศชายและเพศหญิงจำนวนเท่ากันในแต่ละกลุ่ม งานวิจัยนี้ใช้หน่วยอรรถรวมทั้งสิ้น 70 หน่วยอรรถ เป็นหน่วยอรรถที่ชาวโซ่งใช้พูดในชีวิตประจำวันและแทนด้วยคำที่ต่างไปจากภาษาไทยกรุงเทพอย่างชัดเจน ซึ่งคัดเลือกจากงานวิจัยคำศัพท์ในภาษาโซ่งที่ผ่านมาและคลังคำภาษาไทดำโบราณ ส่วนในการเก็บข้อมูลวรรณยุกต์ ผู้วิจัยใช้คำชุดเทียบเสียงคล้ายประกอบด้วยคำพยางค์เดียวจำนวน 9 คำ มาสร้างเป็นรายการคำโดยให้แต่ละคำปรากฏ 5 ครั้ง คำเหล่านี้เป็นตัวแทนของคำที่ปรากฏในช่องต่างๆ ของกล่องวรรณยุกต์ ที่ริเริ่มโดยวิลเลี่ยม เจ เก็ดนี่ (Gedney, 1972) การเก็บข้อมูลรายการคำทดสอบวรรณยุกต์ ใช้วิธีการตั้งคำถาม พร้อมแสดงภาพหรือของจริงประกอบ ในการวิเคราะห์ข้อมูลคำศัพท์ ผู้วิจัยนับความถี่ของการปรากฏของคำศัพท์ภาษาโซ่ง คำศัพท์ภาษาไทยกรุงเทพ คำศัพท์ที่ผู้บอกภาษาตอบว่าใช้ทั้งภาษาไทยกรุงเทพและภาษาโซ่ง และคำศัพท์อื่นๆ จากนั้นคิดเป็นอัตราร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลวรรณยุกต์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ระบบวรรณยุกต์และการแยกเสียงรวมเสียงด้วยการฟัง นอกจากนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์สัทลักษณะของวรรณยุกต์แต่ละเสียงด้วยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม Praat และใช้โปรแกรม Microsoft Excel แปลงผลเป็นกราฟเส้น ผลการวิจัยแสดงว่าโดยภาพรวมผู้บอกภาษาที่พูดภาษาโซ่งในตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย ทุกกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาใช้ภาษาโซ่งทั้งในด้านคำศัพท์และวรรณยุกต์มากกว่าภาษาไทยกรุงเทพ เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลของอายุและทัศนคติต่อการใช้คำศัพท์ พบว่าผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปีใช้คำศัพท์ภาษาโซ่งน้อยที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 35-45 ปี และ 55-65 ปีขึ้นไปใช้คำศัพท์ภาษาโซ่งมากพอกัน แสดงนัยสำคัญว่าผู้บอกภาษายิ่งอายุน้อยลงยิ่งใช้ภาษาไทยกรุงเทพมากขึ้น ส่วนทัศนคติมีอิทธิพลต่อการใช้คำศัพท์ภาษาโซ่งในผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปีเท่านั้น ในด้านวรรณยุกต์ พบว่าไม่มีผู้บอกภาษาคนใดใช้ระบบวรรณยุกต์แบบอื่นเลยนอกจากระบบวรรณยุกต์ภาษาโซ่ง ส่วนสัทลักษณะของวรรณยุกต์มีผู้บอกภาษาใช้แบบอื่นบ้างแต่จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับสัทลักษณะภาษาโซ่ง จากข้อสรุปนี้ แสดงว่าเริ่มมีการแปรของการใช้คำศัพท์ภาษาโซ่งที่ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีไปอย่างช้าๆ และในอนาคตภาษาโซ่งอาจมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ เพราะผู้บอกภาษาโดยเฉพาะกลุ่มอายุ 15-25 ปี เริ่มรับคำศัพท์ภาษาไทยกรุงเทพเข้ามาใช้ปนกับภาษาโซ่ง งานวิจัยนี้พบว่าการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์จะเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงด้านวรรณยุกต์. |
บรรณานุกรม | : |
สุนทรัตร์ แสงงาม . (2549). การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาในภาษาโซ่ง (ไทดำ) ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุนทรัตร์ แสงงาม . 2549. "การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาในภาษาโซ่ง (ไทดำ) ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุนทรัตร์ แสงงาม . "การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาในภาษาโซ่ง (ไทดำ) ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. สุนทรัตร์ แสงงาม . การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาในภาษาโซ่ง (ไทดำ) ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|