ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาความเป็นไปได้โครงการปรับปรุงระบบการทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อยไทย-ลาว อย่างยั่งยืน |
นักวิจัย | : | ยุพา หาญบุญทรง |
คำค้น | : | ฟาร์ม , ลาว , เกษตรกร , ไทย |
หน่วยงาน | : | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=PDG4620001 , http://research.trf.or.th/node/3710 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทบทวนผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมา และกำลังดำเนินการในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำฟาร์มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) เพื่อศึกษารูปแบบการทำฟาร์มและวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (3) เพื่อเลือกพื้นที่ทำการวิจัยที่เหมาะสมเป็นตัวแทนในการพัฒนาต้นแบบระบบการทำฟาร์มที่จะนำไปสู่เกษตรยั่งยืนของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (4) เพื่อการศึกษาระบบการทำงานวิจัยและส่งเสริมของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัยร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จด้วยดี และเป็นแนวทางในการวางแผนงานวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร การศึกษาความเป็นไปได้โครงการปรับปรุงระบบทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อย สรุปได้ดังนี้ 1. รายได้ครอบครัวจากการทำการเกษตรต่ำทั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันจึงต้องพึ่งรายได้นอกภาคการเกษตรมากกว่า 50% สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดำรงชีวิตในครัวเรือน 2. การยกระดับรายได้โดยการทำเกษตรที่จะเป็นไปได้ คือ ควรทำหลาย ๆ กิจกรรมในฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองน้อย ต่ำกว่า 15 ไร่ 3. พืชเศรษฐกิจที่ควรจะศึกษาและทดลองเพื่อนำเข้าไปสู่ระบบฟาร์มของเกษตรกรในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ควรจะเป็นพืชที่มีศักยภาพด้านการตลาด โดยเฉพาะประเทศไทย โดยนำพืชหลายชนิดที่ประเทศไทยนำเข้าไปศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีองค์ประกอบ โดยมีการจัดระบบให้เหมาะสมกับฟาร์มของแต่ละท้องที่ 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานแล้วให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การศึกษารูปแบบของการทำฟาร์มที่เหมาะสมของระบบการทำฟาร์มแบบผสมผสานยังมีความจำเป็น พื้นที่อาศัยน้ำฝนควรจะมุ่งพัฒนาสร้างแหล่งน้ำในไร่-นา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือกรณีเกิดฝนทิ้งช่วง การมีน้ำตลอดปีจะสามารถเพิ่มกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง ในฟาร์มได้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่บางฟาร์มอาจจะไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปีได้ การวิจัยนำพืชใหม่หรือสัตว์ชนิดใหม่เข้าไปสู่ระบบการทำฟาร์มของเกษตรกร เพื่อให้เกิดความหลากหลายในสภาพที่มีน้ำน้อยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง 5. ปัญหาสำคัญในการที่จะทำการวิจัย คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไม่มีนักวิจัยที่จะสามารถร่วมทำงานได้ ทั้งในแง่จำนวนคนในแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของเจ้าหน้าที่ คือ ความรู้ ความสามารถ ปัจจุบันคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับนักศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเรียนในระดับปริญญาโทและเอกจำนวนทั้งหมด 21 คน จึงคาดว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าบุคคลเหล่านี้จะเป็นนักวิจัยที่ร่วมมือกับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี |
บรรณานุกรม | : |
ยุพา หาญบุญทรง . (2547). การศึกษาความเป็นไปได้โครงการปรับปรุงระบบการทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อยไทย-ลาว อย่างยั่งยืน.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ยุพา หาญบุญทรง . 2547. "การศึกษาความเป็นไปได้โครงการปรับปรุงระบบการทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อยไทย-ลาว อย่างยั่งยืน".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ยุพา หาญบุญทรง . "การศึกษาความเป็นไปได้โครงการปรับปรุงระบบการทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อยไทย-ลาว อย่างยั่งยืน."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2547. Print. ยุพา หาญบุญทรง . การศึกษาความเป็นไปได้โครงการปรับปรุงระบบการทำฟาร์มเกษตรกรรายย่อยไทย-ลาว อย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2547.
|