ชื่อเรื่อง | : | เปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ที่ทำนายด้วยโมเดลรอบการให้นมและโมเดลวันทดสอบในโคนมลูกผสม |
นักวิจัย | : | จุรีรัตน์ แสนโภชน์ , สายัณห์ บัวบาน |
คำค้น | : | โคนมลูกผสม , ปริมาณน้ำนม , ค่าการผสมพันธุ์ , โมเดลวันทดสอบ |
หน่วยงาน | : | กรมปศุสัตว์ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | เปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ที่ทำนายด้วยโมเดลรอบการให้นมและโมเดลวันทดสอบ ในโคนมลูกผสม สายัณห์ บัวบาน1 จุรีรัตน์ แสนโภชน์2 1,2 สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปสุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ปทุมธานี 12000 บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และคุณค่าการผสมพันธุ์ ของลักษณะปริมาณน้ำนมในวันทดสอบ และปริมาณน้ำนมที่ 305 วัน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะปริมาณน้ำนมที่ประเมินด้วยโมเดลวันทดสอบ(test day model, TDMs) โดยใช้บันทึกผลผลิตน้ำนมในวันทดสอบ กับโมเดลรอบการให้นม (lactation model, LCM)โดยใช้บันทึกผลผลิตน้ำนมในรอบการให้นมที่ 305 วันเพื่อที่จะหาโมเดลวันทดสอบที่เหมาะสมสำหรับประเมินค่าทางพันธุกรรมของโคนมลูกผสมในประเทศไทย โมเดลวันทดสอบที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย repeatability TDMs (RP_TDMs) และ random regression TDMs (RR-TDMs) ที่มีฟังก์ชั่นวันให้นมแบบ Wilmink, Ali&Shaeffer, Shaeffer&Dekker และ Legendre polynomial ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลปริมาณน้ำนมที่ 305 วัน และ ข้อมูลปริมาณน้ำนมวันทดสอบในรอบการให้นมแรกของแม่โคนมลูกผสมที่ได้รวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูลของสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ที่คลอดลูกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2535 -2550 จำนวน 10,111 ข้อมูล และ 86,519 ข้อมูล ตามลำดับ ประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวน และความแปรปรวนร่วมด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) และประเมินคุณค่าการผสมพันธุ์ด้วยเทคนิค BLUP (Best Linear Unbiased Prediction) ผลการศึกษาพบว่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนจาก TDMs น้อยกว่า LCM ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะปริมาณน้ำนมในวันทดสอบใกล้เคียงกับลักษณะปริมาณน้ำนมที่ 305 วัน (0.21) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคุณค่าการผสมพันธุ์จาก TDMs สูงกว่า LCM คุณค่าการผสมพันธุ์ของปริมาณน้ำนมภายใต้ TDMs และ LCM มีความสัมพันธ์อย่างสูง (0.80 - 0.84 สำหรับพ่อพันธุ์ และ 0.78 สำหรับแม่พันธุ์)การจัดลำดับตามคุณค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์เปลี่ยนไปน้อยกว่าแม่พันธุ์ การใช้ TDMs ทำให้การปรับปรุงทางพันธุกรรมดีขึ้นมากกว่าการใช้ LCM ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า TDMs สามารถเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการประเมินค่าทางพันธุกรรมของโคนมลูกผสมในประเทศไทยแทน LCM โมเดลที่เหมาะสมที่สุดคือ RR-TDMs ซึ่งอธิบายค่าเฉลี่ยของกราฟการให้นม และอิทธิพลสุ่มทางพันธุกรรมด้วยฟังก์ชันการให้นมแบบ Legendre polynomial ลำดับที่ 4 และอธิบายอิทธิพลสุ่มของสภาพแวดล้อมถาวรด้วยฟังก์ชันการให้นมแบบ Legendre polynomial ลำดับที่ 3 เนื่องจากให้ค่า PSB, MSE, RV ต่ำสุด และค่า RHO สูงสุด คำสำคัญ: การประเมินค่าทางพันธุกรรม โมเดลวันทดสอบ โมเดลรอบการให้นม โคนมลูกผสม |
บรรณานุกรม | : |
จุรีรัตน์ แสนโภชน์ , สายัณห์ บัวบาน . (2551). เปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ที่ทำนายด้วยโมเดลรอบการให้นมและโมเดลวันทดสอบในโคนมลูกผสม.
กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์. จุรีรัตน์ แสนโภชน์ , สายัณห์ บัวบาน . 2551. "เปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ที่ทำนายด้วยโมเดลรอบการให้นมและโมเดลวันทดสอบในโคนมลูกผสม".
กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์. จุรีรัตน์ แสนโภชน์ , สายัณห์ บัวบาน . "เปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ที่ทำนายด้วยโมเดลรอบการให้นมและโมเดลวันทดสอบในโคนมลูกผสม."
กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์, 2551. Print. จุรีรัตน์ แสนโภชน์ , สายัณห์ บัวบาน . เปรียบเทียบค่าการผสมพันธุ์ที่ทำนายด้วยโมเดลรอบการให้นมและโมเดลวันทดสอบในโคนมลูกผสม. กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์; 2551.
|