ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาสภาวะโรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสัตว์สู่คนที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | บัณฑิต นวลศรีฉาย , รัชนีกร วิทูรพงศ์ , ประกิต บุญพรประเสริฐ , นรี เกตุสิงห์ , ละมูล โม้ลี |
คำค้น | : | ศึกษาสภาวะโรคในประเทศไทย |
หน่วยงาน | : | กรมปศุสัตว์ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2557 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ที่มาของปัญหา : โรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่มียุงเป็นพาหะ (Mosquito-borne viral encephalitis) มีความสำคัญมากทางด้านการสาธารณสุขและการปศุสัตว์ สำหรับประเทศไทยมีรายงานคนป่วยด้วย Japanese Encephalitis แต่ไม่เคยปรากฏมีรายงานการพบสัตว์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Mosquito-borne viral encephalitis อื่น เช่น West Nile encephalitis รวมทั้งมียุงชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในสกุล Culex ซึ่งเป็นพาหะของโรคพบอยู่ทั่วไป นอกจากนั้นแล้วยังพบนกอพยพจากประเทศแถบไซบีเรียหนีอากาศหนาวมาอยู่ในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจึงควรมีการสำรวจหาเชื้อโรคกลุ่มนี้เพื่อเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ (Emerging disease) ในประเทศไทย วิธีการ : ตรวจตัวอย่างซีรัมสุกรจำนวน 207 ตัวอย่างเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ Japanese Encephalitis โดยตรวจด้วยวิธี HI test โดยสุ่มจากซีรัมสุกรที่นำมาตรวจโครงการอื่น ๆของกรมปศุสัตว์เพื่อดูสภาวะโรคและระดับภูมิคุ้มกัน เก็บตัวอย่าง cloacal swab จากนกธรรมชาติจำนวน 200 ตัวอย่างโดยเก็บตัวอย่างจากอุทยานแห่งชาติและแหล่งนกน้ำธรรมชาติ ได้แก่ จังหวัด สตูล ปทุมธานี อุทัยธานี สิงห์บุรี ระยอง อุบลราชธานี พังงา ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์ สุรินทร์ ประจวบคีรีขัน สุราษฎร์ธานี สกลนคร มุกดาหาร เก็บตัวอย่างยุงรำคาญ (Culex mosquito) โดยใช้ light trap +dry ice (CO2) จากสวนนกชัยนาทและฟาร์มสุกรในจังหวัดชัยนาท บึงฉวากและฟาร์มสุกรในจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้งต่อปี โดยเก็บในช่วงระหว่าง 16.00 น. ถึง 7.00 น. ในวันถัดไป ผล : ผลการตรวจหาระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส Japanese Encephalitis ด้วยวิธี HI test จากจำนวนตัวอย่างซีรัมสุกร 207 ตัวอย่างพบว่าให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัส Japanese Encephalitis ร้อยละ 85.02 (176/207) การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัส West Nile และ Japanese Encephalitis ด้วย qRT-PCR จาก Cloacal swab นกธรรมชาติจำนวน 100 จากน้ำเชลของ Cloacal swab จำนวน 50 ตัวอย่างและจากตัวอย่างยุง (pooled samples) 200 ตัวอย่าง ให้ผลการตรวจเป็นลบ การเพาะแยกเชื้อไวรัสโดยใช้น้ำสารละลาย Cloacal swab ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่แสดงถึงความผิดปกติของเซล สรุป : ผลของการศึกษาสภาวะโรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสัตว์สู่คนที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทยพบแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส Japanese Encephalitis ในอัตราส่วนที่สูง โรคนี้ที่มีสำคัญต่อวงการสาธารณสุขในประเทศไทยและยุงเป็นพาหะในการติดต่อไปสู่คน ดังนั้นควรสร้างความตระหนักต่อโรคนี้แก่เกษตรผู้เลี้ยงสุกร การศึกษานี้ไม่พบเชื้อไวรัส West Nile แต่อย่างไรก็ตามควรจะมีมาตรการการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศไทยมียุง Culex spp. ที่สามารถเป็นพาหะนำโรคได้ |
บรรณานุกรม | : |
บัณฑิต นวลศรีฉาย , รัชนีกร วิทูรพงศ์ , ประกิต บุญพรประเสริฐ , นรี เกตุสิงห์ , ละมูล โม้ลี . (2557). การศึกษาสภาวะโรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสัตว์สู่คนที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์. บัณฑิต นวลศรีฉาย , รัชนีกร วิทูรพงศ์ , ประกิต บุญพรประเสริฐ , นรี เกตุสิงห์ , ละมูล โม้ลี . 2557. "การศึกษาสภาวะโรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสัตว์สู่คนที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์. บัณฑิต นวลศรีฉาย , รัชนีกร วิทูรพงศ์ , ประกิต บุญพรประเสริฐ , นรี เกตุสิงห์ , ละมูล โม้ลี . "การศึกษาสภาวะโรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสัตว์สู่คนที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์, 2557. Print. บัณฑิต นวลศรีฉาย , รัชนีกร วิทูรพงศ์ , ประกิต บุญพรประเสริฐ , นรี เกตุสิงห์ , ละมูล โม้ลี . การศึกษาสภาวะโรคไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสัตว์สู่คนที่มียุงเป็นพาหะในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์; 2557.
|