ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ |
นักวิจัย | : | สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ , ผศ.วิพัฒน์ หมั่นการ , รศ.นันทะ บุตรน้อย , นายพงศธร คำใจหนัก , น.ส.วารินทร์ วงษ์วรรณ , น.ส.รัชฎาภรณ์ ทองแป้น |
คำค้น | : | ภูมิสารสนเทศ |
หน่วยงาน | : | มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2560 |
อ้างอิง | : | http://research.feu.ac.th/researchFile/file/5011224_2562_07_18_113553.pdf |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำตำบลสารภีอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานโครงสร้างด้านทรัพยากรน้ำ และแผนการบริหารจัดการน้ำ ศึกษารูปแบบการจัดการน้ำ และแนวทางการบริหารจัดการในอนาคต และ ประยุกต์ภูมิสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรเครือข่าย ผลการศึกษาพบว่า ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย 9 ชั้นข้อมูล ประกอบด้วย ชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่เทศบาล ชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่หมู่บ้าน ชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นข้อมูลเส้นลำเหมือง ชั้นข้อมูลตำแหน่งฝาย ชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่แหล่งน้ำ ชั้นข้อมูลตำแหน่งบ่อบาดาล ชั้นข้อมูลเส้นทางคมนาคม ชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน และชั้นข้อมูลภาพข้อมูลดาวเทียมไทยโชต พ.ศ. 2552 ทำให้มีการแสดงผลข้อมูลในลักษณะแผนที่ ทำให้เห็นการกระจายของแหล่งน้ำได้ดียิ่งขึ้น สามารถทำความเข้าใจในสภาพพื้นที่ได้ง่ายขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยวิธีการซ้อนทับ ทำให้ทราบความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของข้อมูล ซึ่งทำให้การแสดงผลและการตีความทำให้ง่ายขึ้น และการเก็บข้อมูลมีความถูกต้องเนื่องจากใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียมช่วยในการสำรวจและภาพข้อมูลดาวเทียมไทยโชต ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัย สามารถแสดงแผนที่ความสูงต่ำของพื้นที่เทศบาลตำบลสารภีได้ และสามารถสร้างเป็นภาพตัดขวางภูมิประเทศจากข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงตัวเลข (Digital Elevation Model) สำหรับแหล่งน้ำต้นทุนในเทศบาลตำบลสารภี ประกอบด้วย 2 แหล่ง ได้แก่ 1) ปริมาณน้ำฝน ส่วนใหญ่แล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี และน้ำท่า มีปริมาณเฉลี่ย 1,804.48 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 2) แหล่งน้ำในพื้นที่ประกอบด้วยบ่อน้ำตื้น บ่อน้ำบาดาล ปริมาณน้ำรวม 36.84 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง สระเก็บน้ำ 125 แห่ง เก็บน้ำได้ 1,682,797.77 ลูกบาศก์เมตร สำหรับความต้องการน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลสารภีประกอบด้วยความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 268,876.80 ลูกบาศก์เมตรต่อปี คาดว่าในปี พ.ศ. 2570 ความต้องการน้ำจะเพิ่มเป็น 375,278.40 ลูกบาศก์เมตรต่อปี แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2,791,370.27 ลูกบาศก์เมตรต่อปีแนวทางการบริหารจัดการน้ำประกอบด้วย 1) การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 2) การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร 3) การจัดการน้ำเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4) การจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำแล้ง 5) การจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม และ 6) การสร้างจิตสำนึก |
บรรณานุกรม | : |
สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ , ผศ.วิพัฒน์ หมั่นการ , รศ.นันทะ บุตรน้อย , นายพงศธร คำใจหนัก , น.ส.วารินทร์ วงษ์วรรณ , น.ส.รัชฎาภรณ์ ทองแป้น . (2560). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ , ผศ.วิพัฒน์ หมั่นการ , รศ.นันทะ บุตรน้อย , นายพงศธร คำใจหนัก , น.ส.วารินทร์ วงษ์วรรณ , น.ส.รัชฎาภรณ์ ทองแป้น . 2560. "การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่".
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ , ผศ.วิพัฒน์ หมั่นการ , รศ.นันทะ บุตรน้อย , นายพงศธร คำใจหนัก , น.ส.วารินทร์ วงษ์วรรณ , น.ส.รัชฎาภรณ์ ทองแป้น . "การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่."
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2560. Print. สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ , ผศ.วิพัฒน์ หมั่นการ , รศ.นันทะ บุตรน้อย , นายพงศธร คำใจหนัก , น.ส.วารินทร์ วงษ์วรรณ , น.ส.รัชฎาภรณ์ ทองแป้น . การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น; 2560.
|