ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาแฟชั่น |
นักวิจัย | : | ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://ocac.go.th///wp-content/uploads/2018/05/56-2.pdf |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ในประเทศไทย พบว่าผลิตภัณฑ์ สินค้าไทยมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ต้องได้รับการส่งเสริมกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยงานศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเทศไทยได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนพัฒนาด้านแรงงานที่มีทักษะความชำนาญ ความละเอียดอ่อน และมีความประณีต รูปแบบของผลิตภัณฑ์สินค้าเน้นความทันสมัยของยุคปัจจุบันผสมผสานกับความสวยงาม ตามแรงบันดาลใจที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ทิศทางการออกแบบที่เป็นตัวเลือกลำดับแรกในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมยังคงคาดหวังรูปแบบดั้งเดิม คือ งานย้อนยุค งานที่เน้นด้านจิตวิญญาณ และงานประเพณี อาทิเช่น ภูมิปัญญา แนวทางงานศิลปะ ลวดลายที่เป็นรูปทรงนามธรรม ทัศนียภาพของพื้นถิ่น และประเพณีไทย การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าด้านทัศนศิลป์ร่วมสมัยไปสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม พบว่า ปัจจุบันการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรมอาจเป็นสิ่งใหม่ในวงการศิลปะ แต่การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในการจำหน่ายนั้น พบว่า ช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าส่วนใหญ่เป็นร้านจำหน่ายของขวัญ และร้านค้าที่เป็นนที่นิยม เช่น ร้านจำหน่วยสินค้าเครื่องตกแต่งบ้าน ร้านจำหน่ายสินค้าในสถานที่ท่องเที่ยว สินค้าที่ผลิตจำหน่ายมากที่สุดเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าช่วงเทศกาล เช่น ของตกแต่งบ้าน เครี่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งสินค้าที่ได้รับการออกแบบจะมีความแตกต่างตามความต้องการของผู้ซื้อเฉพาะราย ซึ่งผู้ประกอบการควรมีแนวคิดและรูปแบบตราสินค้าที่มีความโดดเด่นและแตกต่าง รวมถึงการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ รูปแบบเส้นทางการส่งเสริมและพัฒนาทางด้านการตลาดในอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน คือ 1) ความสามารถในการผลิต 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3) การออกแบบสินค้า บริการ 4) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 5) การสร้างช่องทางการขาย 6) การสร้างตราสินค้าและสื่อสารภาพลักษณ์ และ 7) การสร้างร้านค้าในต่างประเทศ |
บรรณานุกรม | : |
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ . (2556). การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาแฟชั่น.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ . 2556. "การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาแฟชั่น".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ . "การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาแฟชั่น."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, 2556. Print. ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ . การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาแฟชั่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย; 2556.
|