ชื่อเรื่อง | : | กระบวนการคิดและองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน |
นักวิจัย | : | สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ , ศรันยา คุณะดิลก (เผือกผ่อง) , ชุติมา ชวลิตมณเฑียร , รุ่งทิพย์ ลุยเลา , ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS) |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14455%2FNRCT.res.2010.6 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยเรื่องกระบวนการคิดและองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดรหัสกระบวนการคิดของครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมือง 2) ศึกษาองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมือง 3) ศึกษาการถ่ายทอดความรู้ของครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมือง และ 4) สังเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมืองอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมืองทั่วประเทศไทย จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการคิดของครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นกระบวนการคิดแบบมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ และกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ องค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมือง พบว่า มีองค์ความรู้ด้านการออกแบบลวดลายผ้า การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือการทอ กระบวนการย้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการ สำหรับการถ่ายทอดความรู้ของครูภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมือง พบว่า มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับ 1) สมาชิกในครอบครัวหรือสมาชิกภายในกลุ่ม 2) กลุ่มผู้ผลิตรายอื่นหรือชุมชน และ 3) การเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนหรือหน่วยงาน ต่าง ๆ และ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของครูภูมิปัญญา พบว่า มีวิธีการถ่ายทอดโดย 1) การอธิบายและให้ปฏิบัติจริง 2) การให้ความรู้กับครู ผู้นำชุมชน หรือกลุ่มที่สนใจโดยตรง และ 3) การให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลการสังเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านสิ่งทอพื้นเมืองอย่างยั่งยืน พบว่า 1) ควรจัดหางบประมาณสนับสนุน เพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง 2) การจัดตั้งกลุ่มเพื่อถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งในลักษณะกลุ่มอาชีพ 3) การจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ ศูนย์วัฒนธรรมผ้าไทยหรือพิพิธภัณฑ์ด้านสิ่งทอพื้นเมือง 4) การจัดทำหนังสือ หรือวิดิทัศน์สำหรับเผยแพร่เพื่อให้คนรุ่นหลังสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง และ 5) การถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ผ่านระบบการศึกษาในโรงเรียน |
บรรณานุกรม | : |
สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ , ศรันยา คุณะดิลก (เผือกผ่อง) , ชุติมา ชวลิตมณเฑียร , รุ่งทิพย์ ลุยเลา , ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ . (2553). กระบวนการคิดและองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน.
กรุงเทพมหานคร : ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS). สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ , ศรันยา คุณะดิลก (เผือกผ่อง) , ชุติมา ชวลิตมณเฑียร , รุ่งทิพย์ ลุยเลา , ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ . 2553. "กระบวนการคิดและองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน".
กรุงเทพมหานคร : ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS). สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ , ศรันยา คุณะดิลก (เผือกผ่อง) , ชุติมา ชวลิตมณเฑียร , รุ่งทิพย์ ลุยเลา , ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ . "กระบวนการคิดและองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน."
กรุงเทพมหานคร : ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS), 2553. Print. สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ , ศรันยา คุณะดิลก (เผือกผ่อง) , ชุติมา ชวลิตมณเฑียร , รุ่งทิพย์ ลุยเลา , ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ . กระบวนการคิดและองค์ความรู้ด้านสิ่งทอพื้นเมืองของครูภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS); 2553.
|