ชื่อเรื่อง | : | การสกัดเส้นใยจากพืชสมุนไพร |
นักวิจัย | : | ปทุมทิพย์ ปราบพาล , ขนิษฐา เจริญลาภ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สถาบันวิจัยและพัฒนา |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดกัมของเส้นใยสมุนไพรด้วยสารเคมีเอนไซม์และอีเอ็ม จากใบเตย ใบขมิ้นชันและใบพลับพลึง ตัวแปรที่ศึกษาคือ ชนิดของสารเคมี วันในการแช่ ความเข้มข้นของสารละลาย อุณหภูมิและเวลาในการต้ม จากการวิเคราะห์น้ำหนักและน้ำหนักกัมตกค้างด้วยวิธี South India Textile Research Association (SITRA) พบว่าการสกัดเส้นใยจากสมุนไพรด้วยสารเคมี เอนไซม์ หรือ อีเอ็ม ภาวะที่เหมาะสมคือ กรณีใช้สารโซเดียมคาร์บอเนต 2% แช่เป็นเวลา 12 วัน แล้วนำมาต้มอุณหภูมิ 95oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง กรณีใช้เอนไซม์ 2% แช่เป็นเวลา 45 วัน แล้วนำมาต้มจนเดือดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง กรณีใช้อีเอ็ม 1% แช่เป็นเวลา 50 วัน แล้วนำมาต้มอุณหภูมิ 95oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง |
บรรณานุกรม | : |
ปทุมทิพย์ ปราบพาล , ขนิษฐา เจริญลาภ . (2558). การสกัดเส้นใยจากพืชสมุนไพร.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สถาบันวิจัยและพัฒนา. ปทุมทิพย์ ปราบพาล , ขนิษฐา เจริญลาภ . 2558. "การสกัดเส้นใยจากพืชสมุนไพร".
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สถาบันวิจัยและพัฒนา. ปทุมทิพย์ ปราบพาล , ขนิษฐา เจริญลาภ . "การสกัดเส้นใยจากพืชสมุนไพร."
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สถาบันวิจัยและพัฒนา, 2558. Print. ปทุมทิพย์ ปราบพาล , ขนิษฐา เจริญลาภ . การสกัดเส้นใยจากพืชสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ สถาบันวิจัยและพัฒนา; 2558.
|