ชื่อเรื่อง | : | การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 |
นักวิจัย | : | อิชยา จีนะกาญจน์ , ลดาวัลย์ มะลิไทย , วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ |
คำค้น | : | การเรียนการสอนแบบร่วมมือ , การคิดวิเคราะห์ , ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ |
หน่วยงาน | : | มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2560 |
อ้างอิง | : | http://ris.snru.ac.th/research/1286 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ลงทะเบียนเรียนรายวิชา มนุษย์กับศิลปะการดำเนินชีวิต แบ่งเป็น 4 สาขาวิชา คือ คหกรรมศาสตร์ พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ชีววิทยา และเคมี จำนวน 171 คน วิธีการดำเนินการวิจัยโดยการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ใช้กระบวนการกลุ่มย่อย ชุดสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์จากชมวิดีทัศน์สูงกว่าบทความ เนื่องจากวิดีทัศน์มีความน่าสนใจ ดึงดูดให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา พบว่า การทดสอบก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 15.55 คะแนน นักศึกษาสาขาวิชาเคมี มีคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ มากที่สุด (17.09 คะแนน) และมีความสามารถด้านหลักการมากที่สุด (6.64 คะแนน) และการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.61 คะแนน นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยามีคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ มากที่สุด (19.34 คะแนน) และมีความสามารถด้านเนื้อหามากที่สุด (7.13 คะแนน) จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นโดยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ได้นำแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์มาประยุกต์ใช้ ให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่มย่อยโดยมีการกำหนดสถานการณ์ปัญหา ที่ให้นักศึกษาได้ระดมความคิด มีแหล่งข้อมูลที่เสาะแสวงหาคำตอบเพื่อใช้แก้ไขปัญหา มีฐานการช่วยเหลือในการจัดสภาพแวดล้อมที่ให้นักศึกษามีทางเลือกในการหาคำตอบ รวมถึงมีอาจารย์คอยช่วยเหลือกระตุ้นความคิดให้นักศึกษาเลือกและตัดสินใจวิธีการได้คำตอบด้วยตนเอง จากสถานการณ์ปัญหานักศึกษาได้มีการร่วมมือกันแก้ปัญหาและแสวงหาความรู้ นักศึกษาได้ระดมสมอง เกิดการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดกับเพื่อน กล้าแสดงความคิดเห็น และได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม |
บรรณานุกรม | : |
อิชยา จีนะกาญจน์ , ลดาวัลย์ มะลิไทย , วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . (2560). การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1.
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. อิชยา จีนะกาญจน์ , ลดาวัลย์ มะลิไทย , วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . 2560. "การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1".
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. อิชยา จีนะกาญจน์ , ลดาวัลย์ มะลิไทย , วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . "การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1."
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2560. Print. อิชยา จีนะกาญจน์ , ลดาวัลย์ มะลิไทย , วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2560.
|