ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | สุดาพร สาวม่วง |
คำค้น | : | โรงเรียนอนุบาล -- การประเมิน , โรงเรียนเอกชน -- ไทย , การศึกษาขั้นอนุบาล -- ไทย , แบบประเมินคุณภาพ , Kindergarten -- Evaluation , Private schools -- Thailand , Kindergarten -- Thailand , Evaluative scale |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นิศา ชูโต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2534 |
อ้างอิง | : | 9745784877 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52950 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร และการติดตามผลของรูปแบบการประเมิน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ตอนแรก วิเคราะห์แนวความคิดจากเอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดอนุบาลศึกษา 3 กลุ่ม จำนวน 28 คน ได้แก่ผู้ออกกฎระเบียบอนุบาลศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาล และผู้ปกครองนักเรียนอนุบาล ตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการประเมินและตรวจสอบความตรงโดยดูความสอดคล้องของรูปแบบ ระหว่างผู้ออกกฎระเบียบอนุบาลศึกษา จำนวน 10 คน ตอนที่ 3 เป็นการติดตามผลรูปแบบการประเมินโดยใช้กับประชากร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลกลุ่มละ 200 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน มีโครงสร้างของรูปแบบที่ประกอบด้วยปัจจัยในการประเมินการจัดอนุบาลศึกษา 4 ด้าน จำนวน 94 ตัวบ่งชี้ คือ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ ปัจจัยด้านบริหารโรงเรียน จำนวน 26 ตัวบ่งชี้ ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ จำนวน 29 ตัวบ่งชี้ และปัจจัยด้านสวัสดิการและการประชาสัมพันธ์ จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการติดตามรูปแบบการประเมิน พบว่า รูปแบบการประเมินมีอรรถประโยชน์โดยสร้างได้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง ผู้บริหาร และรูปแบบการประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามการประเมินของผู้บริหาร โดยทั้งผู้ปกครอง และผู้บริหารประเมินว่ารูปแบบซึ่งมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ในการประเมินการจัดอนุบาลศึกษา จำนวน 94 ตัวบ่งชี้ สร้างได้ตรงตามความต้องการ และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก จำนวน 32 ตัวบ่งชี้ และ 62 ตัวบ่งชี้ ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
สุดาพร สาวม่วง . (2534). การพัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุดาพร สาวม่วง . 2534. "การพัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุดาพร สาวม่วง . "การพัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534. Print. สุดาพร สาวม่วง . การพัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
|