ชื่อเรื่อง | : | ผลของการสอนงานเกษตรแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของโครงงานความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย |
นักวิจัย | : | เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ |
คำค้น | : | เกษตรศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2559 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53203 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทดลองใช้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานในวิชางานเกษตรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพโครงงาน ความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชางานเกษตรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานและการจัดการเรียนการสอนปกติ ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังจากการทดลองใช้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณภาพโครงงานของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีผลคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียน สูงกว่าผลคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียน 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) , นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการสื่อสารหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) ,นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (E) มีค่าเฉลี่ยคุณภาพโครงงานหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนปกติ (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig = .000) |
บรรณานุกรม | : |
เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ . (2559). ผลของการสอนงานเกษตรแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของโครงงานความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ . 2559. "ผลของการสอนงานเกษตรแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของโครงงานความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ . "ผลของการสอนงานเกษตรแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของโครงงานความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559. Print. เพียงตา กิจหิรัญวงศ์ . ผลของการสอนงานเกษตรแบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของโครงงานความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
|