ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | อารมย์ ตรีราช |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไถ้ออน ชินธเนศ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา , ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ |
ปีพิมพ์ | : | 2559 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52136 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 การศึกษาย่อยคือการศึกษาที่ 1 การศึกษาหารูปแบบการฝึกแบบหนักสลับช่วงพักในนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งทำการทดลองในนักกีฬาฟุตบอลชาย 12 คน อายุ 18-22 ปีที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการวิจัย โดยการใช้ค่า อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดมากกว่า 51 มล./นาที/กก. ขึ้นไปนักกีฬาที่ผ่านเกณฑ์ต้องฝึกตามโปรแกรมหนักสลับช่วงพักทั้ง 3 โปรแกรม ทำการวัด ความเข้มข้นแลคเตทในเลือดก่อนและขณะพักฟื้นหลังการฝึกทันที ณ นาทีที่ 3, 6, 9 12 และ 15 รวมทั้งค่า เมตาบอลิซึ่มผ่านเครื่องวิเคราะห์แก๊ส จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของตูกี(Tukey’s) ผลการทดลองพบว่า โปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพัก รูปแบบที่ 1 สามารถทำให้เกิดความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดและอัตราการกำจัดแลคเตทได้มากกว่ารูปแบบที่ 2 และ 3 ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่มีความใกล้เคียงกับการแข่งขันจริงมากที่สุด การศึกษาที่ 2 ได้ทำการศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถที่แสดงออกทางอนากาศนิยมและสมรรถภาพที่เจาะจงของนักฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอล ชาย ทีม มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 32 คน อายุ 18-22 ปีที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการวิจัย โดยใช้ค่า อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด มากกว่า 51 มล./นาที/กก. ขึ้นไป แล้วทำการจับสลากเข้ากลุ่มเท่าๆกันโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มควบคุม 16 คน และกลุ่มทดลอง 16 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเสริมด้วยการฝึกหนักสลับช่วงพักควบคู่กับการฝึกซ้อมฟุตบอลตามโปรแกรมปกติ สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ รวมเป็นการฝึกทั้งหมด 18 ครั้ง โดยระยะเวลาในการฝึกเสริมในแต่ละครั้งคือ 25 นาที ส่วนในกลุ่มควบคุม ทำการฝึกซ้อมตามโปรแกรมปกติและไม่มีการฝึกอื่นๆเพิ่มเติม การเก็บข้อมูลของค่าพลังแบบอนากาศนิยม ความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด และสมรรถภาพที่เจาะจงของนักฟุตบอล จะทดสอบก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว เพื่อเปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ภายในตัวแปร ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยกำหนดการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดลองพบว่า หลังการฝึกครบ 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าพลังแบบอนากาศนิยม คือ 10.07±1.31และ 9.09±0.70 วัตต์/กก.ตามลำดับ ค่าความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม คือ 8.61±1.51และ7.81±0.66 วัตต์/กก. ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงว่า ค่าพลังแบบอนากาศนิยม ค่าความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม ดัชนีความเมื่อยล้าและค่าความสามารถในการวิ่งเร็วซ้ำระยะทางเดิม ในกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนค่า ความแข็งแรง ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว อัตราการสร้างแรง ความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด และค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การฝึกเสริมด้วยการฝึกหนักสลับช่วงพักที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางด้านพลังแบบอนากาศนิยม ความสามารถสูงสุดแบบอนากาศนิยม และความสามารถในการวิ่งเร็วซ้ำระยะทางเดิม ในนักกีฬาฟุตบอลได้ เนื่องจากการฝึกลักษณะนี้เป็นการพัฒนาการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดหดตัวเร็ว นอกจากนั้นยังใช้เวลาในการฝึกที่ค่อนข้างสั้น ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ จึงเห็นว่าควรนำมาใช้ในการฝึกซ้อมและพัฒนากีฬาฟุตบอลต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
อารมย์ ตรีราช . (2559). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารมย์ ตรีราช . 2559. "การพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารมย์ ตรีราช . "การพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559. Print. อารมย์ ตรีราช . การพัฒนาโปรแกรมการฝึกหนักสลับช่วงพักสำหรับนักกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
|