ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
นักวิจัย | : | วรุณรัตน์ ชนะศรีรัตนกุล |
คำค้น | : | คุณภาพชีวิต , เบาหวาน , เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , Quality of life , Diabetes , Diabetics -- Patients --Thailand, Northeastern |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รุ้งระวี นาวีเจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51740 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อาชีพ อายุ ระยะเวลาของแผลเท้าเบาหวาน ระดับความรุนแรงของแผล ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar level) พฤติกรรมการจัดการตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้า กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าจำนวน 160 คนจากจำนวน 6 โรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามการจัดการตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการหาค่าความตรงและความเที่ยงซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.78, 0.90, 0.81 และ0.88 ตามลำดับ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาจำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน สเปียร์แมน ไคสแควร์ และเอตา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าอยู่ในระดับมาก ([mean]= 3.85 SD = 0.53) 2. เพศ อายุ อาชีพ และระดับน้ำตาลในเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระดับความรุนแรงของแผล ระยะเวลาของแผลเท้าเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. พฤติกรรมการจัดการตนเอง การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
บรรณานุกรม | : |
วรุณรัตน์ ชนะศรีรัตนกุล . (2554). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรุณรัตน์ ชนะศรีรัตนกุล . 2554. "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรุณรัตน์ ชนะศรีรัตนกุล . "ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. วรุณรัตน์ ชนะศรีรัตนกุล . ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|