ชื่อเรื่อง | : | ผลฉับพลันของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการนวดกระตุ้นที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อในนักวิ่งระยะสั้น |
นักวิจัย | : | นิโลบล ปัญญาสุทธากุล |
คำค้น | : | การยืดเหยียด , การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ , การออกกำลังกาย -- แง่สรีรวิทยา , กล้ามเนื้อ , การนวด , Sport medicine , Stretch (Physiology) , Muscle strength training , Exercise -- Physiological aspects , Muscles , Massage |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51998 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของพลังกล้ามเนื้อก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ของการยืดเหยียดต่อเนื่องร่วมกับการนวดกระตุ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักวิ่งระยะสั้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุระหว่าง 18 – 26 ปี จำนวน 12 คนโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยวิธีการจับสลากเข้ากลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะทำการทดลอง 4 รูปแบบ สัปดาห์ละ 1 รูปแบบ โดยแบ่งเป็น รูปแบบที่ 1 ทำการวิ่งเหยาะๆร่วมกับยืดเหยียดอยู่กับที่ รูปแบบที่ 2 ทำการวิ่งเหยาะๆ ยืดเหยียดอยู่กับที่ และยืดเหยียดต่อเนื่อง รูปแบบที่ 3 ทำการวิ่งเหยาะๆร่วมกับยืดเหยียดอยู่กับที่ และนวดกระตุ้นและรูปแบบที่ 4 ทำการวิ่งเหยาะๆร่วมกับยืดเหยียดอยู่กับที่ ยืดเหยียดต่อเนื่องและนวดกระตุ้น โดยแต่ละกลุ่มการทดลองจะสลับหมุนเวียนรูปแบบ การทดลองไปจนครบ ทั้ง 4 รูปแบบ ในระยะเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ในส่วนของการทดสอบนั้น จะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการทดลอง โดยค่าที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากการกระโดดด้วยความสามารถสูงสุด 1 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One – way analysis of variance with repeated measure) ในแต่ละรูปแบบ โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการของแอลเอสดี และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ค่าการแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ (Two way anova with repeated measure) โดยรวมผลก่อนการทดลอง และหลังการทดลองทั้ง 4 รูปแบบ เข้าไว้ด้วยกัน ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการทดลองทั้ง 4 รูปแบบ พบว่า ผลฉับพลันของพลังกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการทดลองในแต่ละรูปแบบนั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการทดลองที่ 4 ก็มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อนำผลการทดลองทั้ง 4 รูปแบบมาเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ผลฉับพลันของการยืดเหยียดต่อเนื่องร่วมกับการนวดกระตุ้นที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในการเพิ่มพลังกล้ามเนื้อ |
บรรณานุกรม | : |
นิโลบล ปัญญาสุทธากุล . (2554). ผลฉับพลันของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการนวดกระตุ้นที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อในนักวิ่งระยะสั้น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิโลบล ปัญญาสุทธากุล . 2554. "ผลฉับพลันของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการนวดกระตุ้นที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อในนักวิ่งระยะสั้น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิโลบล ปัญญาสุทธากุล . "ผลฉับพลันของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการนวดกระตุ้นที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อในนักวิ่งระยะสั้น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. นิโลบล ปัญญาสุทธากุล . ผลฉับพลันของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการนวดกระตุ้นที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อในนักวิ่งระยะสั้น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|