ชื่อเรื่อง | : | การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในนิตยสารท่องเที่ยว |
นักวิจัย | : | วิชุดา สายสมุทร |
คำค้น | : | การท่องเที่ยว -- วารสาร , การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน , การท่องเที่ยวโดยชุมชน , Travel -- Periodicals , Sustainable tourism |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดวงกมล ชาติประเสริฐ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52104 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และปัจจัยการสร้างเนื้อหาของกองบรรณาธิการของนิตยสาร อ.ส.ท. Nature Explorer และหนีกรุง โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ การศึกษาเนื้อหาที่ครอบคลุมแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทฤษฎีพฤติกรรมแบบแผน และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ได้แก่ บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการและช่างภาพ ผลการวิจัยพบว่า นิตยสารท่องเที่ยวให้น้ำหนักในการนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสนองต่อความพึงพอใจของผู้อ่าน ในการได้รับประสบการณ์อันสวยงามจากแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วิถีชุมชนและเพิ่มประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากกว่าเนื้อหาการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและความสำคัญของความเป็นอยู่ของชุมชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่นำไปสู่การปฎิบัติของผู้อ่านตามทฤษฎีพฤติกรรมแบบแผน ผลการวิจัยพบเนื้อหาสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมปริมาณมาก (Behavioral beliefs) คือความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่นำเสนอเนื้อหาสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง (Normative beliefs) คือการให้ความสำคัญต่อบุคคลผู้สนับสนุนการทำพฤติกรรม และความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุม (Control beliefs) คือเนื้อหาเกี่ยวกับเวลาและโอกาสที่เอื้อให้ผู้อ่านแสดงพฤติกรรมในปริมาณน้อย ทำให้กระบวนการรับรู้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การทำพฤติกรรมไม่เกิดเป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอเนื้อหาของกองบรรณาธิการประกอบด้วยการได้รับการสนับสนุนจากโฆษณา ความชำนาญของนักเขียนและช่างภาพ แหล่งข้อมูลมาจากสื่ออินเตอร์เนท ไกด์บุ๊ค หนังสือและสื่อบุคคล แต่ปัจจัยการเข้าใจนิยามการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกองบรรณาธิการซึ่งมีความแตกต่างกันไม่มีผลต่อการนำเสนอเนื้อหา ส่วนปัจจัยภายนอกองค์กรคือกระแสสังคม แคมเปญท่องเที่ยวของททท. และความต้องการของผู้อ่าน |
บรรณานุกรม | : |
วิชุดา สายสมุทร . (2556). การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในนิตยสารท่องเที่ยว.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิชุดา สายสมุทร . 2556. "การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในนิตยสารท่องเที่ยว".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิชุดา สายสมุทร . "การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในนิตยสารท่องเที่ยว."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. วิชุดา สายสมุทร . การนำเสนอเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในนิตยสารท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|