ชื่อเรื่อง | : | การคำนวณสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสำหรับชั้นเดี่ยวของ โบรอนไนไตรด์และโลหะแทรนซิชันไดชาล์โคจีไนด์โดยใช้ ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น |
นักวิจัย | : | นราภรณ์ ตั้งหทัยทิพย์ |
คำค้น | : | พลังงานไฟฟ้า , โพลาไรเซชัน , Electric power , Polarization |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นคร ไพศาลกิตติสกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51812 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 งานวิจัยนี้ได้ทำการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสำหรับชั้นเดี่ยวของโบรอน ไนไตรด์(BN) และโลหะแทรนซิชันไดชาล์โคจีไนด์(TMDC) ได้แก่โมลิบดีนัมไดซัลไฟด์ (MoS₂), โมลิบดีนัมไดซิลิไนด์(MoSe₂), โมลิบดีนัมไดเทลลูไรด์(MoT e₂), ทังสเตนไดซัลไฟด์ (WS₂), ทังสเตนไดซิลิไนด์(WSe₂) และ ทังสเตนไดเทลลูไรด์(WTe₂) โดยใช้โปรแกรม CASTEP ซึ่งอาศัยทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น (DFT) และใช้การประมาณค่าเกรเดียนต์โดยนัยทั่วไป (GGA) เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ว่า วัสดุสองมิติดังกล่าวจะมีสัมประสิทธิ์ ไพอิโซอิเล็กทริกสูงกว่าวัสดุปกติที่เป็นสามมิติในเบื้องต้นคำนวณหาค่าคงที่แลตทิซเพื่อตรวจ สอบโครงสร้างของวัสดุเทียบกับการศึกษาก่อนหน้า และคำนวณช่องว่างแถบพลังงาน นอกจากนี้ ยังได้คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นและการเปลี่ยนแปลงโพลาไรเซชันต่อหน่วยพื้นที่เพื่อนำ ไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริก ผลการคำนวณพบว่า สัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริก ของวัสดุที่เป็นสองมิติบางชนิดข้างต้น มีค่าสูงกว่าวัสดุไพอิโซอิเล็กทริกปกติที่เป็นสามมิติเช่น ผลึกแอลฟาควอตซ์, ผลึกแกเลียมไนไตรด์(GaN) และผลึกอะลูมิเนียมไนไตรด์(AlN) เป็นต้น โดยที่ชั้นเดี่ยวของ MoT e₂ มีค่าสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสูงสุด และชั้นเดี่ยวของ WS₂ มีค่า สัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกต่ำสุด ซึ่งพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกมีแนวโน้มเดียวกัน กับเลขอะตอมของธาตุชาล์โคจีไนด์ตามตารางธาตุนอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ของวิธีการคำนวณหาโพลาไรเซชัน โดยคำนวณหาค่าโพลาไรเซชันสำหรับผลึกของแบเรียมไททา เนต (BaTiO₃) และเลด ไททาเนต (PbT iO₃) ผลการคำนวณพบว่า ค่าโพลาไรเซชันสอดคล้องกับ การทดลองและการคำนวณก่อนหน้านี้ |
บรรณานุกรม | : |
นราภรณ์ ตั้งหทัยทิพย์ . (2556). การคำนวณสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสำหรับชั้นเดี่ยวของ โบรอนไนไตรด์และโลหะแทรนซิชันไดชาล์โคจีไนด์โดยใช้ ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นราภรณ์ ตั้งหทัยทิพย์ . 2556. "การคำนวณสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสำหรับชั้นเดี่ยวของ โบรอนไนไตรด์และโลหะแทรนซิชันไดชาล์โคจีไนด์โดยใช้ ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นราภรณ์ ตั้งหทัยทิพย์ . "การคำนวณสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสำหรับชั้นเดี่ยวของ โบรอนไนไตรด์และโลหะแทรนซิชันไดชาล์โคจีไนด์โดยใช้ ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. นราภรณ์ ตั้งหทัยทิพย์ . การคำนวณสัมประสิทธิ์ไพอิโซอิเล็กทริกสำหรับชั้นเดี่ยวของ โบรอนไนไตรด์และโลหะแทรนซิชันไดชาล์โคจีไนด์โดยใช้ ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|