ชื่อเรื่อง | : | การออกแบบวงจรหน่วยประมวลผลขนาด 32 บิต ที่มีการอัดคำสั่ง |
นักวิจัย | : | เฉลิมพงศ์ สัตยาวิบูล |
คำค้น | : | งจรนาฬิกาเวลาจริง (คอมพิวเตอร์) , การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ , การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ , Real-time clocks (Computers) , Electronic data processing , Electronic circuit design |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ประภาส จงสถิตย์วัฒนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51567 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 วิธีการอัดคำสั่งเป็นวิธีลดขนาดโปรแกรมวิธีหนึ่ง ทำโดยการนำคำสั่งหลายๆคำสั่งมารวมกันบรรจุไว้ด้วยกัน ส่งผลให้วิธีการนี้มีส่วนช่วยเพิ่มสมรรถนะของหน่วยประมวลผล โดยช่วยลดเวลาที่ใช้ในการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอขั้นตอนการออกแบบวงจรหน่วยประมวลผล พร้อมทั้งนำเสนอการนำวิธีการอัดคำสั่งมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับหน่วยประมวลผลนี้ เนื่องจากงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างหน่วยประมวลผลสำหรับระบบฝังตัวที่มีทรัพยากรจำกัด เป้าหมายการออกแบบวงจรหน่วยประมวลผลเพื่อให้มีขนาดเล็ก ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น โดยที่ยังมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ไม่ช้าเกินไป อีกทั้งวิธีการอัดคำสั่งที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติในด้านใช้ทรัพยากรน้อย โดยพิจารณาจากขนาดวงจรที่ต้องเพิ่มเข้าไป เพื่อให้วงจรหน่วยประมวลผลรองรับการอัดคำสั่งได้ การอัดคำสั่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยประมวลผลนี้ ช่วยลดขนาดโปรแกรมได้ร้อยละ 37.9 ของขนาดโปรแกรมปกติ และทำงานได้เร็วขึ้น 1.22 เท่า จากการลดจำนวนรอบนาฬิกาที่ใช้ในการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ ในด้านการใช้ทรัพยากร วงจรที่ต้องเพิ่มให้วงจรหน่วยประมวลผลเพื่อให้รองรับการอัดคำสั่งนั้น มีขนาดเพียงร้อยละ 3 ของขนาดวงจรหน่วยประมวลผลเดิม หน่วยประมวลผลที่ได้ออกแบบในงานวิจัยนี้ ใช้จำนวนเกตสมมูล 13,060 เกต ในด้านประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลนี้ได้รับการเปรียบเทียบกับหน่วยประมวลผลไมโครแบลซ ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลขนาด 32 บิต ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมระบบฝังตัว พบว่าหน่วยประมวลผลที่ได้ออกแบบในงานวิจัยนี้ ใช้จำนวนรอบนาฬิกาในการทำงานใกล้เคียงกับหน่วยประมวลผลไมโครแบลซ ความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุดของหน่วยประมวลผลที่ออกแบบในงานวิจัยนี้อยู่ที่ 63 เมกะเฮิร์ทซ์ |
บรรณานุกรม | : |
เฉลิมพงศ์ สัตยาวิบูล . (2549). การออกแบบวงจรหน่วยประมวลผลขนาด 32 บิต ที่มีการอัดคำสั่ง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เฉลิมพงศ์ สัตยาวิบูล . 2549. "การออกแบบวงจรหน่วยประมวลผลขนาด 32 บิต ที่มีการอัดคำสั่ง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เฉลิมพงศ์ สัตยาวิบูล . "การออกแบบวงจรหน่วยประมวลผลขนาด 32 บิต ที่มีการอัดคำสั่ง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. เฉลิมพงศ์ สัตยาวิบูล . การออกแบบวงจรหน่วยประมวลผลขนาด 32 บิต ที่มีการอัดคำสั่ง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|