ชื่อเรื่อง | : | ลักษณะสมบัติของ Azospirillum sp. ในการส่งเสริมการเจริญของข้าวร่วมกับแอกทิวิตีปฏิปักษ์ของ Bacillus sp. ต่อการติดเชื้อ Rhizoctonia solani |
นักวิจัย | : | ลินดา อารีย์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปาหนัน เริงสำราญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50854 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะสมบัติของ Azospirillum ที่มีสมบัติที่ดีในการส่งเสริมการเจริญของข้าว และยังมีเป้าหมายในการทดสอบความสามารถของแบคทีเรียจากน้ำทะเลจำนวนสามไอโซเลตในการยับยั้งการเจริญของ Rhizoctonia solani ที่เป็นสาเหตุของโรคกาบใบแห้งในข้าว ในด้านการควบคุมทางชีวภาพโดยใช้แบคทีเรียจากน้ำทะเลพบว่า Bacillus subtilis TD12-11 และ Bacillus aryabhattai TW1-1N9 มีฤทธิ์ในการยับยั้ง R. solani แม้ว่า Azospirillum ทุกไอโซเลตไม่สามารถยับยั้ง R. solani บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีการเลี้ยงร่วมกับราได้ อย่างไรก็ตาม Azospirillum เกือบทุกไอโซเลตก็มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญของพืชโดย ตัวอย่างเช่น สามารถผลิตกรดอินโดลอะซีติกซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชในช่วง 0.70-200.19 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ สามารถละลายฟอสเฟต และสามารถผลิตไซเดอโรฟอร์ Azospirillum brasilense ไอโซเลต TS24 เป็นไอโซเลตที่มีสมบัติดีที่สุดในการเป็นไรโซแบคทีเรียที่ช่วยส่งเสริมการเจริญของพืช จากการวิเคราะห์ผลของแบคทีเรียต่อการเจริญของข้าวโดยทดลองปลูกในหลอดทดลองพบว่า ไอโซเลตของ Azospirillum sp. ส่วนใหญ่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ สามารถเพิ่มจำนวนของรากแขนง ความสูงของข้าว และน้ำหนักแห้งของต้นข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับไอโซเลตของแบคทีเรียจากน้ำทะเลพบว่าช่วยเพิ่มความแข็งแรงของราก จำนวนของรากแขนง ความสูงของต้นข้าว และน้ำหนักแห้งของต้นข้าวอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทดสอบผลการป้องกันโรคกาบใบแห้งในต้นข้าวพบว่าการใส่แบคทีเรียทั้ง 2 กลุ่มร่วมกันสามารถลดอาการของโรคกาบใบแห้งในข้าว และป้องกันโรคได้ 66.17-89.70% โดย Azospirillum zeae ไอโซเลต PNPHB9 ร่วมกับ B. aryabhattai ไอโซเลต TW1-1N9 มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สูงสุด การประยุกต์ใช้แบคทีเรีย 2 กลุ่มร่วมกันเพื่อเป็นหัวเชื้อผสมในปุ๋ยชีวภาพสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดราสำหรับการทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้ |
บรรณานุกรม | : |
ลินดา อารีย์ . (2558). ลักษณะสมบัติของ Azospirillum sp. ในการส่งเสริมการเจริญของข้าวร่วมกับแอกทิวิตีปฏิปักษ์ของ Bacillus sp. ต่อการติดเชื้อ Rhizoctonia solani.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลินดา อารีย์ . 2558. "ลักษณะสมบัติของ Azospirillum sp. ในการส่งเสริมการเจริญของข้าวร่วมกับแอกทิวิตีปฏิปักษ์ของ Bacillus sp. ต่อการติดเชื้อ Rhizoctonia solani".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลินดา อารีย์ . "ลักษณะสมบัติของ Azospirillum sp. ในการส่งเสริมการเจริญของข้าวร่วมกับแอกทิวิตีปฏิปักษ์ของ Bacillus sp. ต่อการติดเชื้อ Rhizoctonia solani."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. Print. ลินดา อารีย์ . ลักษณะสมบัติของ Azospirillum sp. ในการส่งเสริมการเจริญของข้าวร่วมกับแอกทิวิตีปฏิปักษ์ของ Bacillus sp. ต่อการติดเชื้อ Rhizoctonia solani. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
|