ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล |
นักวิจัย | : | ปธานศาสน จับจิตร |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ , จุฑา ติงศภัทิย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50156 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล และสร้างเกณฑ์มาตรฐานความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาฟุตบอลทีมไทยพรีเมียร์ลีกปี 2556 จำนวน 6 ทีมๆ ละ 6 ตำแหน่ง การวิเคราะห์ขั้นตอนที่ 1 ทำการสรุปรูปแบบการเคลื่อนที่และระยะทางการวิ่งตามตำแหน่งการเล่นฟุตบอล ด้วยการวิเคราะห์ระยะทางการวิ่งเร็วระยะสั้นโดยใช้โปรแกรม TRAK PERFORMANCE ขั้นตอนที่ 2 ทำการสร้างเครื่องมือทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล จากการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการเล่นฟุตบอลตามตำแหน่งต่างๆ ผนวกกับผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาสร้างแบบทดสอบภาคสนาม 3 แบบทดสอบ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ของ 1)ตำแหน่งกองหน้า 2) ตำแหน่งกองกลางตัวรับและเซ็นเตอร์แบ็ค และ 3) ตำแหน่งกองกลางตัวซ้าย-ขวาและแบคซ้าย-ขวา โดยวัดความสามารถของนักกีฬาฟุตบอลด้านความเร็ว ความแคล่วคล่องว่องไว และความอดทนแบบพิเศษ ในคราวเดียวกัน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson’s Product Moment Correlation) และ One-way ANOVA ซึ่งพบว่า การหาความตรง ( Validity ) ของแบบทดสอบทั้ง 3 แบบนี้ เปรียบเทียบกับ ความเร็ว ความแคล่วคล่องว่องไว และอดทนแบบพิเศษอยู่ในระดับ ดี และดีมาก ในขณะที่ ความเที่ยง (Reliability ) อยู่ในระดับ ดี และดีมาก และความเป็นปรนัย ( Objectivity ) อยู่ในระดับ ยอมรับ และดี รวมทั้งความแตกต่างระหว่างความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล มีความนัยสำคัญที่ระดับ .05 ขั้นตอนที่ 3 ทำการสร้างเกณฑ์มาตรฐานความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล โดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้น กับนักกีฬาฟุตบอลทีมไทยพรีเมียร์ลีกดีวีชั่น 1 และดีวีชั่น 2 จำนวน 360 คน ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของการวิจัยนี้ คือแบบทดสอบภาคสนามที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐาน ที่ใช้ในการประเมินและจำแนกความสามารถตามตำแหน่งการเล่นของนักกีฬาฟุตบอล และจับคู่สมรรถนะพิเศษส่วนบุคคลให้เข้ากับตำแหน่งการเล่นที่เหมาะสม และวางแผนการฝึกซ้อมพิเศษเฉพาะเพื่อเสริมสร้างไปสู่วิถีอาชีพที่ดีที่สุดในอนาคต |
บรรณานุกรม | : |
ปธานศาสน จับจิตร . (2558). การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปธานศาสน จับจิตร . 2558. "การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปธานศาสน จับจิตร . "การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. Print. ปธานศาสน จับจิตร . การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
|