ชื่อเรื่อง | : | การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง |
นักวิจัย | : | ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50036 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง ในการผลิตเครื่องสำอางสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงของการผลิตเนื้อเครื่องสำอางไปจนบรรจุบรรจุลงภาชนะบรรจุ ซึ่งเป็นช่วงที่มีระยะเวลานำ (Lead time) ที่นาน สามารถทำการผลิตเป็นชุดการผลิตหรือที่เรียกว่า Batch ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการจัดเก็บ (Make to stock) เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และในช่วงการบรรจุหีบห่อซึ่งเป็นช่วงการแปลงสภาพสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยขึ้นกับความต้องการของลูกค้าซึ่งมีระยะเวลานำสั้นและเป็นการผลิตตามสั่งหรือเป็นการประกอบตามสั่ง เนื่องจากบริษัทกรณีศึกษาเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในตราสินค้าของตนเอง ซึ่งสินค้าเครื่องสำอางเป็นสินค้าแฟชั่นที่ผู้บริโภคต้องการความหลากหลายและต้องตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนสำคัญที่เป็นรูปลักษณ์ที่ลูกค้าจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกคือส่วนของบรรจุภัณฑ์ โดยที่บรรจุภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้านั้นไม่เพียงถูกกำหนดโดยผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวแต่จะถูกกำหนดโดยช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยเช่นกัน โดยช่องทางการจัดจำหน่ายแต่ละแห่งมีธรรมชาติของความต้องการที่ไม่เหมือนกัน โดยความแตกต่างทั้งในส่วนบรรจุภัณฑ์เดี่ยว บรรจุภัณฑ์แพ็คและลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่เป็นลังลูกฟูก ซึ่งเกิดจากช่องทางการขายที่ต่างกัน, มีการปรับเปลี่ยนเมื่อต้องการทำการโฆษณาหรือการทำส่งเสริมการขาย ทำให้ส่งผลต่อการทำงานในส่วนที่ตอบสนองต่อความต้องการคือในส่วนการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง เพื่อทำการตอบตนองต่อความต้องการที่ต่างกัน ภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด ดังนั้น บริษัทกรณีศึกษาจึงจำเป็นต้องมีระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายและข้อจำกัดด้านเวลาจากลูกค้าหรือช่องทางการจัดจำหน่ายได้ ขอบเขตของการวิจัยครอบคลุมทั้งในส่วนของการศึกษากระบวนการทำงานในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบการทำงานของสายการบรรจุหีบห่อ และในส่วนของการออกแบบระบบสารสนเทศในการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อ โดยในส่วนระบบสารสนเทศจะครอบคลุมตั้งแต่ การรับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย แปลงความต้องการเป็นรายละเอียดและขั้นตอนในการทำงานในส่วนกระบวนการบรรจุหีบห่อ ทำการวางแผน มอบหมายงานในแต่ละสายการบรรจุหีบห่อและแต่ละกลุ่มผู้ปฏิบัติการ ตลอดจนตรวจติดตามและควบคุมสายการทำงานจนกระทั่งดำเนินการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยแบ่งงานส่วนสารสนเทศออกเป็น 3 ส่วนหลัก 1) ส่วนการวางแผนการบรรจุหีบห่อ 2)ส่วนควบคุมกระบวนการบรรจุหีบห่อ 3)ส่วนการออกแบบเอกสาร วิธีการดำเนินการในกระบวนการบรรจุหีบห่อ และออกแบบหน้าจอการใช้งาน (User interface) จากการนำระบบไปทดลองในบริษัทกรณีศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 พบว่า สามารถนำไปใช้ในการวางแผนได้จริงโดยสามารถทำการวางแผนได้ก่อนล่วงหน้าหนึ่งวันเสมอ และไม่ต้องมีการเปิดการทำงานล่วงเวลา, การแก้ไขงาน (Repack) มีปริมาณลดลงกว่า 70 % เมื่อเทียบสัดส่วนจำวนสินค้าที่ทำการ Repack ต่อสัดส่วนผลผลิตต่อเดือน โดยทำการเทียบในเดือนที่มีจำนวนผลผลิตที่ใกล้เคียงกันในช่วงก่อนและหลังใช้ระบบ และฝ่ายขนส่งไม่มีข้อร้องเรียนหรือการรอคอยสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำสินค้าไปทำการจัดส่ง และจากการเทียบสัดส่วนจำนวนผลผลิตต่อเดือนกับชั่วโมงการทำงานพบว่า หลังใช้ระบบที่การใช้ทรัพยากรในส่วนของเวลา (ชั่วโมงการทำงาน)หรือจำนวนคนที่ใกล้เคียงกัน สามารถบรรจุหีบห่อได้จำนวนผลผลิตมากกว่าช่วงก่อนใช้ระบบ ซึ่งสรุปได้ว่างานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้งานได้จริง และสามารถช่วยเป็นระบบในการสนับสนุนการทำงานและตัดสินใจในการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอางได้ |
บรรณานุกรม | : |
ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน . (2558). การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน . 2558. "การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน . "การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. Print. ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน . การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
|