ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชน |
นักวิจัย | : | ยอดชาย สุวรรณวงษ์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มนัสวาสน์ โกวิทยา , เกียรติวรรณ อมาตยกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49819 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 การศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้สุขภาพชุมชนบนฐานวิถีชีวิตชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ 3) ทดลองรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ และการวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขของรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ 4) จัดทำแผนพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ผลการศึกษา พบว่า 1. องค์ประกอบการเรียนรู้สุขภาพชุมชนบนฐานวิถีชีวิตชุมชน ประกอบด้วย 1) แนวคิดพื้นฐานด้านสุขภาพชุมชน เพื่อการตอบสนองความต้องการ และความอยู่รอด 2) เป้าหมายเพื่อดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของคน ชุมชน และภูมิปัญญา 3) ประเภทวิถีชีวิตชุมชนด้านสุขภาพแบ่งเป็น ด้านความคิด และด้านพฤติกรรม 4) กระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพบนฐานวิถีชีวิตชุมชน คือ การถ่ายทอด การผสมผสาน และการอนุรักษ์วัฒนธรรมสุขภาพ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมสุขภาพ คือ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และศาสนาที่คนในสังคมนับถือ 2. รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านสุขภาพบนฐานวิถีชีวิตชุมชน 5 ประการ 2) เป้าหมายการเรียนรู้ของคนและชุมชน 3) กระบวนการเรียนรู้ของคน และชุมชน และ 4) ปัจจัยสนับสนุนด้านแรงขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านสุขภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรูปแบบมีความเหมาะสมของเนื้อหา ทฤษฎี สอดคล้องกับบริบทชุมชน และมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติในระดับมาก 3. หลังการทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p value .000 4. ผลการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ในการส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับชุมชนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย มีข้อเสนอแนะด้านการพัฒนา 5 ด้าน คือ 1) ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ด้านแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมสุขภาพ 3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมปราชญ์ภูมิปัญญาชุมชน 4) ด้านการสนับสนุนทรัพยากร 5) ด้านการส่งเสริมคุณค่าและการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสุขภาพของท้องถิ่น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชนต้องเชื่อมองค์ความรู้ในท้องถิ่นกับทุกขั้นตอนการเรียนรู้ทั้งระดับบุคคลและระดับชุมชน |
บรรณานุกรม | : |
ยอดชาย สุวรรณวงษ์ . (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยอดชาย สุวรรณวงษ์ . 2558. "การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยอดชาย สุวรรณวงษ์ . "การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. Print. ยอดชาย สุวรรณวงษ์ . การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
|