ชื่อเรื่อง | : | อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย |
นักวิจัย | : | อรุณวรรณ คงมีผล |
คำค้น | : | อัญมณีวิทยา , นพรัตน์ , วรรณคดีสันสกฤต , วรรณคดีไทย , Gemology , Sanskrit literarure , Thai literature , literature , precious stones |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว , ทัศนีย์ สินสกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49745 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาความรู้เรื่องอัญมณีที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย จากหลักฐานชั้นต้น คือ ตำรารัตนปรีกษาภาษาสันสกฤตและตำรานพรัตน์ของไทย เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตำราทั้งสอง วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลจากตำรารัตนปรีกษาสองฉบับ ได้แก่ รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ และรัตนปรีกษาธยายะในคัมภีร์ครุฑปุราณะ พร้อมด้วยข้อมูลตามหลักอัญมณีวิทยาปัจจุบัน ส่วนที่สองเป็นการนำเสนอข้อมูลจากตำรานพรัตน์สามฉบับ ได้แก่ ลิลิตตำรานพรัตน์ ตำรานพรัตน์ฉบับร้อยแก้ว และตำรารัตนสาตร์จบบริบูรรณ์ และส่วนที่สามเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาระหว่างตำรารัตนปรีกษากับตำรานพรัตน์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตำรารัตนปรีกษามีลักษณะสอดคล้องกับอัญมณีวิทยา เนื้อหาสาระประกอบด้วยการกำเนิด แหล่งกำเนิด คุณสมบัติ อานุภาพ การทำเทียม การเจียระไน การปรับปรุงคุณภาพ การประเมินน้ำหนักและราคาอัญมณี ส่วนตำรานพรัตน์นั้น มีเนื้อหาสาระคล้ายกับตำรารัตนปรีกษา เพียงแต่ไม่ปรากฏเรื่องการทำเทียม การเจียระไน และการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี ลักษณะการพรรณนาที่ร่วมกัน คือ การพรรณนาคุณสมบัติด้านสีด้วยการเปรียบเทียบกับดอกไม้ พืช สัตว์ และสิ่งที่ให้แสงสว่าง ลักษณะการพรรณนาที่ต่างกันมีหลายประการ ประการสำคัญคือ การพรรณนาอานุภาพของอัญมณี ตำรารัตนปรีกษาเน้นอานุภาพด้านการป้องกันภัยอันตราย ความเจริญรุ่งเรือง และการรักษาโรค ส่วนตำรานพรัตน์เน้นอานุภาพของอัญมณีในด้านการเป็นเครื่องรางของขลัง มีอานุภาพบันดาลความสุข ความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง และชัยชนะในศึกสงคราม จึงสรุปได้ว่า ตำรารัตนปรีกษามีความสัมพันธ์กับตำรานพรัตน์ในฐานะที่เป็นต้นแบบของการแต่งตำราวิชาการด้านอัญมณี ความแตกต่างระหว่างตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์เกิดจากวัตถุประสงค์ในการแต่งตำรา คือ ตำรารัตนปรีกษาเป็นคู่มือสำหรับการประเมินคุณภาพและราคาอัญมณีในการทำธุรกิจการค้าระหว่างพ่อค้าอัญมณีกับผู้ซื้อ ในขณะที่ตำรานพรัตน์นั้น ผู้แต่งและผู้รวบรวมทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อเป็นต้นฉบับประจำราชสำนัก |
บรรณานุกรม | : |
อรุณวรรณ คงมีผล . (2556). อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรุณวรรณ คงมีผล . 2556. "อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรุณวรรณ คงมีผล . "อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. อรุณวรรณ คงมีผล . อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|