ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย |
นักวิจัย | : | เกศกนก ณ พัทลุง |
คำค้น | : | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร , โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย , High schools -- Administration , High schools -- Thailand |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริเดช สุชีวะ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ , ชญาพิมพ์ อุสาโห |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49718 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากแนวคิดทฤษฎี 2) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากพหุกรณี และ 3) พัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย มีวิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 4 โรงเรียน การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยใช้การอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มี ประสิทธิผลจากแนวคิดทฤษฎี ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก 45 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากพหุกรณี ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก 42 องค์ประกอบย่อย 3) รูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบของรูปแบบมี 6 ส่วน คือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการ แนวคิดพื้นฐานและความเป็นมาของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) ลักษณะของรูปแบบ 5) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ชื่อรูปแบบคาดหวัง มุ่งมั่น สัมพันธ์ ร่วมมือ ลักษณะของรูปแบบประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจนและมั่นคง 2) มีมาตรฐานและความคาดหวังสูงสำหรับนักเรียนทุกคน 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 4) มีวัฒนธรรมของการสื่อสารและความร่วมมืออย่างทั่วถึง 5) หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐาน 6) การกำกับการเรียนรู้และการสอนอย่างสม่ำเสมอ 7) การพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีจุดเน้น 8) สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ และ 9) การมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสูงของครอบครัวและชุมชน |
บรรณานุกรม | : |
เกศกนก ณ พัทลุง . (2556). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกศกนก ณ พัทลุง . 2556. "การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกศกนก ณ พัทลุง . "การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. เกศกนก ณ พัทลุง . การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|