ชื่อเรื่อง | : | การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาปรากฎการณ์เกาะความร้อนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่รอบนอก |
นักวิจัย | : | ปุณยนุช รุธิรโก |
คำค้น | : | ปรากฎการณ์เกาะความร้อน , เทศบาลนครหาดใหญ่ , ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาปรากฎการณ์เกาะความร้อน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่รอบนอก ใช้วิธีการวัดอุณหภูมิพื้นผิว ด้วยเครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลติดกับยานพาหนะ ทำการวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ใน 4 เส้นทาง ใน 2 ช่วงเวลา (ช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน) ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเวลากลางวันจะพบพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงมากกว่าในช่วงเวลากลางคืน ทั้งนี้ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืนมีค่าอุณหภูมิสูงบริเวณพื้นที่เมือง (เขตเทศบาลนครหาดใหญ่) และมีอุณหภูมิต่ำบริเวณพื้นที่รอบนอกเมือง ยกเว้นบริเวณตำบลควนลัง (บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเทศบาลนครหาดใหญ่) ที่ยังคงมีค่าอุณหภูมิสูงอยู่ ส่วนความเข้มข้นของการเกิดปรากฎการณ์เกาะความร้อนในช่วงเวลากลางวันมีค่าเท่ากับ 2.5 องศาเซลเซียส และการเกิดปรากฎการณ์เกาะความร้อนในช่วงเวลากลางคืนมีค่าเท่ากับ 5 องศาเซลเซียส การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของปรากฎการณ์เกาะความร้อนกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และพื้นที่รอบนอก พบว่าบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง มีอาคารและสิ่งก่อสร้างอยู่หนาแน่น มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตพาณิชยกรรมที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ส่วนบริเวณที่มีค่าอุณหภูมิต่ำลงมาเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และบริเวณพื้นที่สีเขียว ตามลำดับ ดังนั้นแนวทางในการลดผลกระทบจากปรากฎการณ์เกาะความร้อน สามารถทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง อย่างไรก็ตามบริเวณที่เป็นเขตเมืองมีข้อจำกัดในเชิงพื้นที่ว่าง ที่จะมีพื้นที่ว่างอยู่น้อย ดังนั้นอาจเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยจัดเป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ หรือจัดให้มีสวนแนวดิ่ง |
บรรณานุกรม | : |
ปุณยนุช รุธิรโก . (). .
: . ปุณยนุช รุธิรโก . . "".
: . ปุณยนุช รุธิรโก . "."
: , . Print. ปุณยนุช รุธิรโก . . : ; .
|