ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 : ศึกษากรณีธุรกิจประกันชีวิต |
นักวิจัย | : | สุทธิพร สายเชื้อ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วีระพงษ์ บุญโญภาส , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49397 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 กำหนดหน้าที่ให้ผู้มีหน้าที่รายงาน กำหนดนโยบายในการประเมินความเสี่ยงด้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย แต่ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และยังไม่มีแนวทางปฏิบัติเพื่อดำเนินตามบางมาตรการ และจึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อภาคธุรกิจประกันชีวิต ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมุ่งศึกษาความเป็นมา แนวคิดพื้นฐาน ความสัมพันธ์กับกฎหมายว่าด้วยการฟอกเงิน ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางปฏิบัติสำหรับธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยศึกษาเปรียบเทียบมาตรการสากลด้านการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินการร้าย และกฎหมายของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่าในข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กำหนดข้อยกเว้นบางประการที่จำเป็น เช่น การจ่ายเบี้ยประกัน สิทธิการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ให้สามารถกระทำได้ทั้งที่อยู่ระหว่างการระงับการดำเนินการ และข้อแนะนำของ FAFT ก็กำหนดข้อยกเว้นของการดำเนินการกับทรัพย์สิน เช่น กำหนดให้ผู้ที่มีอำนาจสามารถให้การอนุญาตในการดำเนินการได้ นอกเหนือจากการอนุญาตจากศาล อีกทั้งพบว่าในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ต่างกำหนดให้มีการอนุญาต และพบว่า ประเทศไทยกำหนดการขออนุญาตโดยศาลแพ่ง อย่างไรก็ตามเกิดความไม่สะดวกและล่าช้าเป็นอุปสรรค เช่น หากเป็นกรมธรรม์ประเภทคุ้มครองอุบัติเหตุ หรือคุ้มครองการรักษาพยาบาล หรือกรมธรรม์ที่รัฐบาลสนับสนุนแก่ผู้มีรายได้น้อย และสิทธิในการรับการรักษาพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลย่อมรักษาตามสิทธิขั้นพื้นฐาน โรงพยาบาลต้องมาขออนุญาตต่อศาลเพื่อเรียกให้บริษัทประกันชีวิตชำระหนี้ นอกจากนี้ยังพบว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นยังมีความไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงขอเสนอแนว คือ ควรกำหนดให้คณะกรรมการ ปปง ให้การอนุญาตเป็นการทั่วไป หรือเป็นกรณีเฉพาะเจาะจงแก่รายใดรายหนึ่งเพื่อเป็นข้อยกเว้นอีกประการหนึ่งในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปรามปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 โดยอาศัยอำนาจในการออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเสนอออกแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนมาตรการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อที่จะขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจประกันชีวิต |
บรรณานุกรม | : |
สุทธิพร สายเชื้อ . (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 : ศึกษากรณีธุรกิจประกันชีวิต.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุทธิพร สายเชื้อ . 2558. "ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 : ศึกษากรณีธุรกิจประกันชีวิต".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุทธิพร สายเชื้อ . "ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 : ศึกษากรณีธุรกิจประกันชีวิต."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. Print. สุทธิพร สายเชื้อ . ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556 : ศึกษากรณีธุรกิจประกันชีวิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
|