ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ศิริลักษณ์ ศรีสำอางค์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ , มยุรี จารุปาณ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2531 |
อ้างอิง | : | 9745692301 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48544 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างกลุ่มของตัวแปรอิสระร่วมกันจากองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการและด้านที่ไม่ใช่วิชาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากโครงการวิจัยเรื่อง "ประสิทธิภาพของการมัธยมศึกษา" ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 255 โรง มีครูทั้งหมด 14,065 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 18,364 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10,712 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลและใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวแปรอิสระร่วมกันจากองค์รปะกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับกลุ่มของตัวแปรตามร่วมกันจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการและด้านที่ไม่ใช่วิชาการ มีความ มีความสัมพันธ์กันสูงสุดได้ค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลเท่ากับ .8772 ที่ระดับนัยสำคัญ .01 เกิดจากกลุ่มของตัวแปรตามที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการ และกลุ่มของตัวแปรอิสระร่วมกันที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือตัวแปรจากองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ได้แก่ พื้นความรู้เดิม 2. ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มของตัวแปรอิสระร่วมกันจากองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับกลุ่มของตัวแปรตามร่วมกันจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการและด้านที่ไม่ใช่วิชาการ มีความสัมพันธ์กันสูงสุดได้ค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลเท่ากับ .9178 ที่ระดับนัยสำคัญ .01 เกิดจากกลุ่มของตัวแปรตามร่วมกันที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาการ และกลุ่มของตัวแปรอิสระร่วมกันที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ ตัวแปรจากองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ได้แก่ การได้รับความช่วยเหลือด้านการเรียนจากทางบ้าน |
บรรณานุกรม | : |
ศิริลักษณ์ ศรีสำอางค์ . (2531). ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริลักษณ์ ศรีสำอางค์ . 2531. "ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริลักษณ์ ศรีสำอางค์ . "ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531. Print. ศิริลักษณ์ ศรีสำอางค์ . ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างองค์ประกอบด้านลักษณะของนักเรียน ลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2531.
|