ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กัน |
นักวิจัย | : | สมพิศ ตันสุวรรณนนท์ |
คำค้น | : | Orthodontic Appliance Design , Orthodontic Brackets , Ceramics , Dental Enamel , Dental Bonding , Tensile Strength , แบรกเก็ตเซรามิก , ทันตกรรมจัดฟัน , กำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอก (ทันตกรรม) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รักพร เหล่าสุทธิวงษ์ , นิรมล ชำนาญนิธิอรรถ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48549 , 9746332627 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้คือเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดดแบบเฉือน/ปอกในขณะดีบอนด์แบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานแบรกเก็ตต่างๆ กัน ได้แก่ แบบพันธะเคมี (Transcend), แบบเชิงกล (Lumina) , แบบเชิงกลและพันธะเคมีร่วมกัน (Fascination) และแบบเชิงกลกับพันธะเคมีร่วมกันแต่ฐานทำจากวัสดุโพลิคาร์บอเนต (Ceramaflex) รวมทั้งศึกษาบริเวณที่มีความล้มเหลวในการยืดติดภายหลังการดีบอนด์แบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานแบรกเก็ตต่างๆ กัน ผลจากการศึกษานี้เพื่อให้ทันตแพทย์จัดฟันได้ใช้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกแบรกเก็ตเซรามิกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้แก่ผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นแบรกเก็ตเซรามิกที่ใช้ในเทคนิคไดเร็กบอนด์สำหรับฟันกรามน้อย 4 กลุ่ม (Transcend, Lumina, Fascination, Ceramaflex) กลุ่มละ 60 ตัวอย่าง โดยเป็นแบรกเก็ตเซรามิกที่มีความกว้างของร่อง 0.018 นิ้วและมีลักษณะของฐานแตกต่างกันไปทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว คิดแบรกเก็ตเซรามิกลงบนผิวเคลือบฟันด้านใกล้แก้มของฟันกรามน้อยธรรมชาติด้วยวัสดุยืดติดชนิดบ่มตัวเองได้ (Concise) ทิ้งวัสดุให้แข็งตัว 10 นาทีแล้วจึงฝังฟันลงในท่อพวีซี จากนั้นจึงนำไปเก็บไว้ใน normal saline solution 0.9% ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วันก่อนนำไปทดสอบด้วยเครื่องทดสอบทั่วไป DDS-1OT ความเร็วในการดึงทดสอบ 0.5 มม. ต่อนาที และจากนั้นจึงนำฟันกรามน้อยที่ผ่านการดึงทดสอบแล้วไปดูบริเวณที่มีความล้มเหลวในการยึดติดด้วยกล้องจุลทรรศน์สามมิติ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. แบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กันมีค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน / ปอกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยแบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานแบบพันธะเคมีจะให้ค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน / ปอกสูงสุด 2. แบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กันจะมีบริเวณที่มีความล้มเหลวในการยึดติดภายหลังการคีบอนด์แบรกเก็ตต่างกันโดยฐานแบรกเก็ตเซรามิกแบบพันธะเคมีพบว่ามีการทำลายผิวเคลือบฟันมากถึง 13 ซี่และฐานแบรกเก็ตเซรามิกแบบเชิงกลและพันธะเคมีร่วมกันพบว่ามีการทำลายผิวเคลือบฟัน 4 ซี่ |
บรรณานุกรม | : |
สมพิศ ตันสุวรรณนนท์ . (2539). การศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมพิศ ตันสุวรรณนนท์ . 2539. "การศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมพิศ ตันสุวรรณนนท์ . "การศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. สมพิศ ตันสุวรรณนนท์ . การศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเก็ตเซรามิกที่มีลักษณะของฐานต่างๆ กัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|