ชื่อเรื่อง | : | การปรับปรุงผนังอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | สิทธชัย วุฒิวรวงศ์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , สมสิทธิ์ นิตยะ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746367552 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48004 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินประสิทธิภาพและคุณสมบัติของฉนวนที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับปรุงกับผนังก่ออิฐฉาบปูนเรียบของอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ลดการถ่ายเทความร้อนของผนังก่ออิฐฉาบปูนเป็นการลดภาระการทำความเย็นในอาคาร ช่วยประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าลงได้ การศึกษาวิจัยแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ศึกษาทางด้านกายภาพของผนังของอาคารจริง 4 อาคาร ได้แก่ อาคารจามจุรี 1, อาคารครุศาสตร์ทดแทน 3, อาคารสถาบันวิทยบริการ และอาคารสำนักงานจัดการทรัพย์สิน ส่วนที่สอง เปรียบเทียบประสิทธิภาพของฉนวนที่ใช้กับผนังก่ออิฐฉาบปูน 8 แบบ ซึ่งได้ทดสอบในห้องปฏิบัติ การจำลองที่มีการควบคุมอุณหภูมิ โดยติดตั้งฉนวนกับผนังภายนอกห้อง 3 แบบ ได้แก่ ผนังระบบ EIFS แบบโฟมหนา 1 นิ้ว, 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว และติดตั้งฉนวนกับผนังภายในห้อง 5 แบบ ได้แก่ ผนังยิบซัมบอร์ดติดตั้งโฟมหนา 1 นิ้ว, 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว, ผนังยิบซัมบอร์ดชนิดบุฟอยส์มีช่องว่างอากาศ 1.5 นิ้วและผนังยิบซั่มบอร์ดติดตั้งโฟมหนา 1 นิ้วชนิดบุฟอยส์มีช่องว่างอากาศ 1.5 นิ้ว ผลการวิจัยพบว่า ค่าการถ่ายเทความร้อนของผนังก่ออิฐฉาบปูน 4 นิ้ว ที่วัดได้จริงจากอาคารมีค่ามากกว่าการคำนวณ และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนที่วัดได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพฉนวน 8 แบบ กับผนังก่ออิฐฉาบปูน พบว่าสัดส่วนค่าความต้านทานความร้อนที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้เป็นสัดส่วนเดียวกับปริมาณความร้อนที่ลดลง โดยที่ฉนวนโฟมที่หนา 1 นิ้ว ทำให้ปริมาณความร้อนลดลง 50% ฉนวนที่หนา 2 นิ้ว กับ 3 นิ้ว ปริมาณความร้อนลดลง 60% กับ 62% ตามลำดับ มีระยะเวลาในการคืนทุนใกล้เคียงกัน (ที่อัตราค่าไฟฟ้าแบบใหม่มีการคืนทุนที่เร็วขึ้น 70%) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฉนวนหนา 2 นิ้วกับ 3 นิ้ว ในการปรับปรุงอาคารผนังก่ออิฐฉาบปูน เพื่ออนุรักษ์พลังงาน ค่าความต้านทานความร้อน 8 hr.Sq.ft °F/BTU ติดตั้งภายนอกอาคารจะเหมาะสมกว่า |
บรรณานุกรม | : |
สิทธชัย วุฒิวรวงศ์ . (2539). การปรับปรุงผนังอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธชัย วุฒิวรวงศ์ . 2539. "การปรับปรุงผนังอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธชัย วุฒิวรวงศ์ . "การปรับปรุงผนังอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. สิทธชัย วุฒิวรวงศ์ . การปรับปรุงผนังอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน : กรณีศึกษาอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|