ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษา ปีการศึกษา 2529 จังหวัดสมุทรสาคร |
นักวิจัย | : | สวลี อาชาสุวรรณ |
คำค้น | : | ตลาดแรงงาน , Labor market |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สำลี ทองธิว , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2532 |
อ้างอิง | : | 9745697427 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49020 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษา ปีการศึกษา 2529 จังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษาเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังนี้คือ ผู้จับหลักสูตรประถมศึกษาที่ศึกษาต่อ จะมีผลการเรียนดี ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวอยู่ในระดับดี โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2,000-3,999 บาท นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความต้องการความก้าวหน้า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร จำนวนพี่น้องในครอบครัวระหว่าง 1-3 คน สถานภาพการสมรสของผู้ปกครองที่ทั้งพ่อและแม่ยังมีชีวิตและอยู่ด้วยกัน ผู้ปกครองจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ผู้ปกครองเหล่านี้คาดหวังให้บุตรของตนศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาหรือสูงว่า การได้รับการแนะแนวการศึกษาจากครู และการได้รับสิ่งจูงใจทางสังคมจากข่าวประเภทส่งเสริมการศึกษาในหนังสือพิมพ์ สำหรับผู้จบหลักสูตรประถมศึกษาที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่วนใหญ่จะมีผลการเรียนดี ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวอยู่ในระดับดี โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2,000-3,999 บาท นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความต้องการมีรายได้/พิสูจน์ตนเอง ความต้องการทำงาน ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวนที่น้องในครอบครัวระหว่าง 4-6 คน ผู้ปกครองจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ผู้ปกครองคาดหวังให้บุตรของตนทำงานหลังจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การได้รับการแนะแนวอาชีพจากครู และได้รับสิ่งจูงใจทางสังคม จากข่าวความล้มเหลวของการศึกษาที่ทำให้คนตกงานในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสภาพพื้นที่ของจังหวัดสมุทรสาคร ที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่วนเจตคติของสังคมต่อการศึกษาและการทำงานนั้น ผู้จบหลักสูตรประถมศึกษาที่ศึกษาต่อ และผู้จบหลักสูตรประถมศึกษาที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน แสงความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจ จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า เจตติของสังคมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน |
บรรณานุกรม | : |
สวลี อาชาสุวรรณ . (2532). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษา ปีการศึกษา 2529 จังหวัดสมุทรสาคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สวลี อาชาสุวรรณ . 2532. "ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษา ปีการศึกษา 2529 จังหวัดสมุทรสาคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สวลี อาชาสุวรรณ . "ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษา ปีการศึกษา 2529 จังหวัดสมุทรสาคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. Print. สวลี อาชาสุวรรณ . ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ของผู้จบหลักสูตรประถมศึกษา ปีการศึกษา 2529 จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2532.
|