ชื่อเรื่อง | : | ผลของใบพัดต่อการกำจัดความขุ่นด้วยถังทำน้ำใสแบบหมุนเวียนตะกอน |
นักวิจัย | : | ลัดดา ธรรมการัณย์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธีระ เกรอต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2536 |
อ้างอิง | : | 9745828041 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47759 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 การศึกษาผลของรูปร่างและการจัดใบพัดที่มีต่อประสิทธิภาพของการกำจัดความขุ่นของถังทำน้ำใสแบบหมุนเวียนตะกอนทำโดยใช้แบบทดลองในห้องปฏิบัติการ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. ความขุ่นน้ำดิบสังเคราะห์ที่ใช้เท่ากับ 50 เอ็นทียู ใช้สารส้มเป็นโคเอกูแลนท์และมีโพลีเมอร์ประจุลบเป็นโคเอกูแลนท์เอดตัวแปรในการทดลองได้แก่ รูปร่างใบพัด และความเร็วรอบใบพัด พบว่าใบพัดแบบราบที่มีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างเท่ากับ 7.0 ผลการบำบัดจะขึ้นกับรูป่างใบพัด ความเร็วรอบหมุนและระยะห่างใบพัด ใบพัดที่มีรูเล็กจำนวนมากให้ผลดีกว่าใบพัดที่มีรูใหญ่จำนวนน้อยที่มีพื้นที่เปิดเท่ากันและใบพัดที่มีผิวขรุขระให้ผลดีกว่าใบพัดที่มีผิวเรียบ ใบพัดขนาดกว่าง 2 ซม. ยาว 14 ซม. ที่ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่นสูงสุดได้แก่ ใบพัดแบบเจาะรูขนาด 0.3 ซม. 32 รูซึ่งให้ประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่นสูงสุดเท่ากับ 99% ที่ความเร็วรอบ 5 รอบ/นาที และระยะห่างใบพัด1 5 ซม. ซึ่งมีค่า G ประมาณ 5.2 S-1 |
บรรณานุกรม | : |
ลัดดา ธรรมการัณย์ . (2536). ผลของใบพัดต่อการกำจัดความขุ่นด้วยถังทำน้ำใสแบบหมุนเวียนตะกอน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดา ธรรมการัณย์ . 2536. "ผลของใบพัดต่อการกำจัดความขุ่นด้วยถังทำน้ำใสแบบหมุนเวียนตะกอน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดา ธรรมการัณย์ . "ผลของใบพัดต่อการกำจัดความขุ่นด้วยถังทำน้ำใสแบบหมุนเวียนตะกอน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536. Print. ลัดดา ธรรมการัณย์ . ผลของใบพัดต่อการกำจัดความขุ่นด้วยถังทำน้ำใสแบบหมุนเวียนตะกอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2536.
|