ชื่อเรื่อง | : | การบริหารและดำเนินการโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนล่าง |
นักวิจัย | : | วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ |
คำค้น | : | แมลงศัตรูพืช วัชพืช ศัตรูธรรมชาติ สารฆ่าแมลง การควบคุมโดยชีววิธี การติดตาม การประเมินผล |
หน่วยงาน | : | ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | - |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ รวม 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์, ตาก และสุโขทัย ซึ่งอยู่ในขอบเขตการรับผิดชอบทางการศึกษาและวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ พืชปลูกหลักในเขตพื้นที่ ได้แก่ ข้าว พืชผักวงศ์กะหล่ำ พริก และพืชไม้ผลหลายชนิด เช่น ส้ม ลองกอง ลางสาด และมะม่วง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งออกของประเทศ อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชต่าง ๆ ดังกล่าว เกษตรกรต้องประสบปัญหามากมาย ที่สำคัญคือ ศัตรูพืช ทั้งในส่วนของแมลงศัตรู โรคพืช และวัชพืช เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย และในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาการรักษาผลผลิตทางการเกษตรไม?ให?เกิดผลเสียหายนั้น จําเป?นอย?างยิ่งที่เกษตรกรต?องใช?สารกําจัดศัตรูพืช เนื่องจากหาซื้อได?ง?าย สะดวกต?อการใช?และออกฤทธิ์อย?างรวดเร็วเห็นผลชัดเจน ส?วนสารตกค?างและความเป?นพิษต?อผู?ใช?หรือเกษตรกรหรือผู?บริโภค มักถูกมองข?าม หรือถูกละเลยไป ทำให้ระบบนิเวศการเกษตร และระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในปัจจุบันการผลิตพืชปลอดสารพิษได้รับ ความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความต้องการและการแข่งขันของตลาดโลก ทำให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการผลิตพืช เพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ดังนั้นการควบคุมโดยชีววิธีจึงเป็นทางออก หรือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการควบคุมศัตรูพืชทดแทนการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพราะนอกจากมีประสิทธิภาพในการควบคุมแล้ว ยังเป็นมิตรและมีความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค และในปัจจุบันได้เริ่มมีการผลิตศัตรูธรรมชาติหลายชนิดทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ แตนเบียน ตัวห้ำต่าง ๆ ในรูปของผลิตภัณฑ์ในเชิงการค้ามากมายหลายชนิด เช่น Bactrospin?, Spidex?, Aphipar? และ Cryptobug? ฯลฯ |
บรรณานุกรม | : |
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ . (2556). การบริหารและดำเนินการโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนล่าง.
กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ . 2556. "การบริหารและดำเนินการโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนล่าง".
กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ . "การบริหารและดำเนินการโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนล่าง."
กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ, 2556. Print. วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ . การบริหารและดำเนินการโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนล่าง. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ; 2556.
|