ชื่อเรื่อง | : | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน |
นักวิจัย | : | วิจิตรา ทองวินิชศิลป |
คำค้น | : | การสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , การสมรสซ้อน , Marriage -- Law and legislation , Bigamy |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิมลศิริ ชำนาญเวช , ประสพสุข บุญเดช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2532 |
อ้างอิง | : | 9745760617 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47407 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 ประเทศไทยได้นำระบบการสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว และนำแบบของการจดทะเบียนสมรสมาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 รัฐต้องการชักจูงให้มีการจดทะเบียนสมรส จึงได้อำนวยความสะดวกนานาประการแก่ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสมรส และให้การจดทะเบียนสมรสทำได้อย่างง่ายๆ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในระยะเริ่มต้น แต่ด้วยพื้นฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมไทย ที่คุ้นเคยกับระบบการสมรสเดิมที่ยอมให้ชายมีภรรยาได้หลายคน และวิธีการจดทะเบียนสมรสซึ่งหละหลวม ยอมให้ผู้ซึ่งจะทำการสมรสสามารถจดทะเบียนสมรส ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานว่า ตนไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น และไม่มีวิธีการตรวจสอบสถานภาพของผู้ที่จะทำการสมรสได้ ทำให้เกิดการสมรสซ้อน ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย บัดนี้ระยะเวลาล่วงเลยมาถึง 50 กว่าปีแล้ว สมควรมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสมรสให้เหมาะสมรัดกุมมากขึ้น เพื่อป้องกันการจดทะเบียนสมรสซ้อน การสมรสซ้อนทำให้ครอบครัวแตกแยก ไม่ปรองดอง คู่สมรสละเลยหน้าที่และความรับผิดชอบต่อครอบครัว ทำให้บุตรขาดความอบอุ่นและไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ก่อให้เกิดปัญหาสังคมเรื่องเด็กมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือเด็กกระทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังเป็นการเร่งเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว เกินกำลังของสังคมที่จะให้การเลี้ยงดูและคุ้มครองทำให้ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวตกต่ำ ส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันครอบครัว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดจากการสมรสซ้อน บทบัญญัติแห่งกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ ตลอดจนระบบการจัดเก็บ ตรวจสอบ ค้นหาข้อมูลการสมรส ซึ่งบกพร่อง ล้าสมัย อันเป็นเหตุให้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจป้องปรามการสมรสซ้อนได้ ผู้เขียนได้เสนอแนะมาตรฐานการในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน โดยมุ่งให้ความคุ้มครองคู่สมรส บุตร และบุคคลภายนอกผู้สุจริต ในการแก้ปัญหาการสมรสซ้อน จะต้องทำไปพร้อมกันทั้งมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม โดยความร่วมมือของบุคคลทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐสภาผู้ร่างกฎหมาย ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายประชาชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าของการสมรสระบบผัวเดียวเมียเดียว และเสถียรภาพของครอบครัว |
บรรณานุกรม | : |
วิจิตรา ทองวินิชศิลป . (2532). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจิตรา ทองวินิชศิลป . 2532. "มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจิตรา ทองวินิชศิลป . "มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. Print. วิจิตรา ทองวินิชศิลป . มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขการสมรสซ้อน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2532.
|