ชื่อเรื่อง | : | มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ภูมิชัย สุวรรณดี |
คำค้น | : | การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ , อนุสัญญาแรมซาร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746376047 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10136 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายและบทบาท อำนาจ หน้าที่ขององค์กรภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย ตลอดจนการมีมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ รวมไปถึงการจัดโครงสร้าง และกำหนดบทบาท อำนาจ หน้าที่ขององค์กรภาครัฐและเอกชนที่เหมาะสมในการจัดการ และการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในระดับต่างๆ ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามอนุสัญญาแรมซาร์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการ และการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติของประเทศไทยในปัจจุบันยังมีลักษณะที่จำกัด และขาดความชัดเจน ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติขาดประสิทธิภาพอย่างจริงจัง กล่าวคือ สภาพของกฎหมายที่ใช้ในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่นั้นมีเจตนารมณ์ของกฎหมายในการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์มากพอสมควร แต่ปรากฏว่ากฎหมายก็ยังขาดความชัดเจนและความเหมาะสมในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกฎหมายบางฉบับมีเจตนารมณ์มุ่งเน้นในด้านการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติเพียงอย่างเดียวการอนุรักษ์ควบคู่ไปด้วย ตลอดจนองค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติมีลักษณะที่ซ้ำซ้อนกันในบทบาท อำนาจ หน้าที่ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้การจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติภายใต้กรอบของกฎหมายในประเทศไทยขาดประสิทธิภาพและไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้ปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติของประเทศไทย อีกทั้งการจัดให้มีองค์กรในรูปแบบของคณะกรรมการระดับชาติในระดับนโยบายแห่งชาติ และในระดับพื้นที่ โดยมีโครงสร้างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนทำหน้าที่ในการกำหนดแผนงาน และการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับอนุสัญญาแรมซาร์ตามหลักการใช้อย่างชาญฉลาดด้วย |
บรรณานุกรม | : |
ภูมิชัย สุวรรณดี . (2540). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูมิชัย สุวรรณดี . 2540. "มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูมิชัย สุวรรณดี . "มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. ภูมิชัย สุวรรณดี . มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|